Page 128 -
P. 128

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           5


                                             ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน : วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ


                        5.3     ผลการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน


                                จากแบบจำลอง




                             จากตารางเห็นว่าผลที่ได้จากแบบจำลองแสดงว่าตัวแปรอิสระตัวแปรอธิบายต่างๆ
                      สามารถอธิบายความเป็นพลวัตความยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญแตกต่างกันตามลักษณะของ

                      แบบจำลองที่ใช้ ดังนี้


                      5.3.1 ผลจากแบบจำลองสมการถดถอยพหุโลจิต
                           (multinomial logit regression model)


                             โดยทั่วไปในการอธิบายผลที่ได้จากแบบจำลอง multinomial logit จะพิจารณาจาก
                      สัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระที่ประมาณการได้จากแบบจำลอง ซึ่งแสดงในรูป marginal effects

                      ที่อธิบายลักษณะอิทธิพลหรือผลกระทบของตัวแปรแต่ละตัวที่มีต่อความน่าจะเป็นหรือโอกาส
                      ในการเกิดพลวัตความยากจนในแต่ละกรณีเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอ้างอิงโดยหากสัมประสิทธิ์
                      มีค่าเป็น บวก หมายความว่าถ้าตัวแปรอิสระดังกล่าวมีค่าสูงขึ้น โอกาสในการเกิดพลวัตความยาก
                      จนนั้นๆ จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่หากสัมประสิทธิ์มีค่าเป็น ลบ หมายความว่าถ้าตัวแปรดังกล่าวมี
                      ค่าสูงขึ้น โอกาสในการเกิดพลวัตความยากจนนั้นจะลดลง นอกจากการพิจารณาเครื่องบวก
                      หรือลบ ระดับหรือค่ามากน้อยของสัมประสิทธิ์ที่ได้จากการประมาณการก็มีความสำคัญ

                      เช่นเดียวกัน โดยค่าของสัมประสิทธิ์เป็นเครื่องชี้ระดับอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อโอกาสใน
                      การเกิดพลวัตความยากจน หากมีค่าสูงกว่า อิทธิพล หรือผลกระทบของตัวแปรอิสระดังกล่าว
                      ที่มีต่อโอกาสการเกิดพลวัตความยากจนก็จะมีมากกว่า

                             ผลการวิเคราะห์จากแบบจำลอง multinomial logit ทั้งสองแบบจำลอง คือ แบบจำลอง
                      ฐานและแบบจำลองขยาย ให้ผลสอดคล้องกัน (ตารางที่ 5.1 และ 5.2) โดยสามารถแสดงค่า
                      ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระต่างๆ ได้ดังนี้
















                                                                                            127
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133