Page 132 -
P. 132
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5
ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน : วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ
• ทุนกายภาพ
ในแบบจำลองนี้ กำหนดให้การถือครองสินทรัพย์ทางกายภาพ ประกอบด้วยสินทรัพย์
ภาคเกษตรและสินทรัพย์นอกภาคเกษตร ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการถือครองสินทรัพย์
26
ทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นส่งผลให้โอกาสเป็นครัวเรือนยากจนเรื้อรังลดลง ในขณะ
ที่การถือครองสินทรัพย์กายภาพทั้งสองกลับไม่มีอิทธิพลต่อการเข้าและออกจากความยากจน
สำหรับมูลค่าสุทธิของปศุสัตว์ และพืชผักสวนครัวที่ปลูกในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสนับสนุนให้ครัว
เรือนออกจากความยากจนมากขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์
จากข้อมูลที่แสดงหัวข้อ 4.5 จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ปัจจัยต่างๆ จะกำหนดพลวัตความ
ยากจน แต่การเปลี่ยนแปลงความยากจนอาจสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรอื่นๆ
ของครัวเรือนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า ตัวแปรหลายตัวมีลักษณะที่ถูกกำหนด
โดยระดับความยากจน (endogenously determined) อาทิ การถือครองสินทรัพย์ต่างๆ ส่งผล
ให้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่สามารถนำมาเป็นตัวแปรอิสระในแบบจำลองได้ อย่างไร
ก็ตาม บางปัจจัยที่ไม่ถูกกำหนดโดยระดับความยากจนและสามารถใช้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์
กับพลวัตความยากจนได้ ได้แก่ ปัจจัยทางลักษณะทั่วไปของครัวเรือน ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลง
ขนาดครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงเพศหัวหน้าครัวเรือนจากชาย
เป็นหญิง การเปลี่ยนแปลงจำนวนเด็กในครัวเรือน โดยผลจากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า
การเปลี่ยนแปลงขนาดของครัวเรือนมีอิทธิพลสำคัญที่จะทำให้ครัวเรือนยากจนเรื้อรัง โดยขนาด
ของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาชิกที่เป็นเด็กจะส่งผลให้ครัวเรือน
มีโอกาสเป็นครัวเรือนยากจนเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งยืนยันผลความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจากนี้
การเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนจากชายเป็นหญิงยังส่งผลให้ครัวเรือนมีโอกาสเข้าสู่ความ
ยากจนมากขึ้นด้วย
26 สินทรัพย์ทุนภาคเกษตร หมายถึง เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตรที่ครัวเรือนครอบครอง ได้แก่
รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำรวมหัวสูบ และเครื่องฉีดพ่นแมลงและสินทรัพย์ทุนนอกภาคเกษตร หมายถึง ยานพาหนะที่
ครัวเรือนครอบครอง ได้แก่ จักรยานยนต์ และจักรยานและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ได้แก่ โทรทัศน์
131