Page 130 -
P. 130

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           5


                                             ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน : วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ


                             • ทุนมนุษย์

                             เป็นที่เชื่อและกล่าวกัน โดยทั่วไปว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งทางด้านการศึกษาและ
                      คุณภาพแรงงาน สามารถช่วยลดโอกาสของครัวเรือนไม่ให้อยู่ในความยากจน ซึ่งในหลายการศึกษา
                      และงานวิจัยก็ได้สนับสนุนความสัมพันธ์ดังกล่าวนั่นคือ ระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดโอกาส
                      การตกเป็นครัวเรือนยากจนเรื้อรัง และโดยเฉพาะการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เช่น

                      มัธยมศึกษา (Jalan and Ravillion, 1999; McCulloch and Baulch, 2000; McKay and Lawson;
                      2003; Justino et al., 2008) และอีกหลายงานวิจัยแสดงว่าอัตราการไม่รู้หนังสือทำให้ครัวเรือน
                      ยากจนเรื้อรังมากขึ้น (Jalan and Ravillion, 1999, 2000) นอกจากนี้ การเพิ่มการลงทุนใน
                      ทุนมนุษย์ไม่เพียงแต่จะอยู่ในรูปของการศึกษาในสถานศึกษาเท่านั้น การอบรมหรือจัดการทาง
                      ด้านทักษะในที่ทำงานให้แก่แรงงานก็มีส่วนสำคัญต่อการลดโอกาสการตกอยู่ในความยากจน
                      เรื้อรังด้วย (Gaiha and Deolaiker, 1993)

                             ผลการวิเคราะห์ที่ได้จากแบบจำลอง multinomial logit ก็สอดคล้องกับการศึกษาในหลาย
                      ประเทศข้างต้น โดยเมื่อพิจารณาด้านคุณภาพของทุนมนุษย์ พบว่า การศึกษาของสมาชิกใน
                      ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะอยู่ในความยากจนเรื้อรังลดลง ในขณะ

                      เดียวกันการศึกษาของสมาชิกในวัยแรงงานที่เพิ่มขึ้นยังเป็นปัจจัยที่ลดโอกาสที่ครัวเรือนจะเข้าสู่
                      ความยากจนด้วย และเมื่อพิจารณาแยกตามระดับการศึกษา จะเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น นั่นคือ
                      สมาชิกวัยแรงงานที่จบการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมหรือจบเพียงชั้นประถมศึกษา หากมีจำนวน
                      เพิ่มขึ้นจะมีความเป็นไปได้ที่ครัวเรือนดังกล่าวจะยังคงอยู่ในความยากจนเรื้อรังต่อไป ซึ่งสอดคล้อง
                      กับข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงว่าสมาชิกครัวเรือนเกินครึ่งของกลุ่มยากจนเรื้อรังจบการศึกษาในระดับ
                      ประถมศึกษาเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากสมาชิกวัยแรงงานจบการศึกษาที่สูงกว่าระดับประถมคือ
                      ในระดับมัธยมปลายจะลดโอกาสที่จะเป็นครัวเรือนยากจนเรื้อรังได้

                             เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน พบว่ามีความสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้อง

                      กับการศึกษาของสมาชิกในวัยแรงงานข้างต้น โดยผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาของหัวหน้า
                      ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นกลับเพิ่มโอกาสให้ครัวเรือนยังคงอยู่ในความยากจนเรื้อรัง สะท้อนให้เห็นว่า
                      ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนที่สูงขึ้นเพียงคนเดียวไม่มีผลที่จะช่วยให้ครัวเรือนหลุดพ้น
                      จากความยากจนเรื้อรังได้ แต่มีแนวโน้มที่จะช่วยลดโอกาสกลับเข้าสู่ความยากจนของครัวเรือนได้
                      เท่านั้น โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ครัวเรือนหลุดพ้นจากความยากจนเรื้อรังจะต้องเพิ่ม
                      ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนดังที่กล่าวในข้างต้น











                                                                                            129
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135