Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
5.2.2 แบบจำลองตัวแปรต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ครัวเรือน
(continuous model for changes in household living standards)
การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน โดยใช้แบบจำลองตัวแปรไม่ต่อเนื่อง
ข้างต้นเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระต่างๆ กับตัวแปรของกลุ่มพลวัตความยากจน
ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียข้อมูลบางส่วน ที่สะท้อนความเป็นอยู่ของครัวเรือนที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา นอกจากนี้ บางครัวเรือนอาจประสบสภาวะที่ความเป็นอยู่
แย่ลง แม้จะยังไม่ถึงระดับที่ทำให้เข้าสู่ความยากจน ในขณะที่บางครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แต่ยังไม่ทำให้ออกจากความยากจนได้ ดังนั้น หลายงานวิจัยจึงนำแบบจำลองตัวแปรต่อเนื่อง
มาใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือน
(Grootaert et al., 1995; Field et al., 2003; Dercon, 2004, Lawson et al., 2006; Justino et
al., 2008)
การประมาณแบบจำลองตัวแปรต่อเนื่องพัฒนามาจากแนวคิดแบบจำลองพลวัตการ
เติบโต ซึ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งวัดจากรายได้ของครัวเรือนที่
เปลี่ยนแปลงไปและปัจจัยต่างๆ ของครัวเรือนดังสมการ (5.6)
(5.6)
โดย y it คือระดับผลผลิตหรือรายได้ต่อหัวของครัวเรือน i ณ เวลา t คือ α แหล่งที่มาของ
การเติบโตของรายได้ ϑ i คือ ค่าตัวแปรผลกระทบทางตรงของครัวเรือน X it คือ ตัวแปรสำคัญต่างๆ
ของครัวเรือน i ณ เวลา t
ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการ reduced form ตาม Grootart และคณะ (1995) ได้
ดังสมการ (5.7)
(5.7)
โดยตัวแปรตามคือ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่แท้จริงต่อหัว ได้แก่ Y i คือ รายได้ที่
แท้จริงของครัวเรือน i N i คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและตัวแปรอิสระ ได้แก่ A i สินทรัพย์ต่างๆ
ของครัวเรือน และ D i คือ ลักษณะเชิงประชากรของครัวเรือน
126 สถาบันคลังสมองของชาติ