Page 124 -
P. 124
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5
ปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน : วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ
จากสมการข้างบน Y i คือเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่ครัวเรือนประสบ β k คือ เซ็ตของค่า
สัมประสิทธ์ตัวแปรอิสระ สำหรับการวิเคราะห์พลวัตความยากจนในที่นี้ กำหนดให้มีผลลัพธ์ของ
ตัวแปรตามที่จะทำการศึกษาทั้งหมด 4 กลุ่ม จะได้ j = 3 นั่นคือ
• P (Y i = o) เป็นความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนยากจนเรื้อรัง หรือครัวเรือนตกอยู่ใน
ความยากจนทั้งสองปี
• P (Y i = 1) เป็นความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนสามารถออกจากความยากจนได้
• P (Y i = 2) เป็นความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนเข้าสู่ความยากจน
• P (Y i = 3) เป็นความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนไม่ยากจนทั้งสองปี
เพื่อดูปัจจัยกำหนดความเป็นพลวัตของความยากจน แบบจำลองกำหนดให้ครัวเรือนที่
ไม่ยากจนเป็นกลุ่มตัวอย่างฐานในการเปรียบเทียบ (base case for comparison group) ทั้งนี้
แบบจำลองนี้ประมาณค่าตัวแปร โดยอาศัยวิธี maximum Likelihood ดังนั้นในการอธิบายผล
ความสัมพันธ์ที่ได้จากค่าสัมประสิทธิ์ตัวแปรอิสระจะแสดงอยู่ในรูปของ log-odds ratio คือ
(Greene, 2003) ค่า β ที่ได้บ่งชี้เพียงแค่ว่าตัวแปรอิสระต่างๆ
มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อตัวแปรตามหรือไม่ โดยแสดงผลความสัมพันธ์ในรูป log ratio
ของความน่าจะเป็นโดยเปรียบเทียบ
ค่าที่ได้ในรูป log odd เมื่อนำมาแปลผลแล้วไม่มีความหมายในการอธิบาย ดังนั้น
จึงประมาณการในรูปผลกระทบส่วนเพิ่ม (marginal effects) ซึ่งอธิบายความหมายของผลที่ได้ใน
รูปอัตราการเปลี่ยนแปลงของความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ Y เมื่อ x เปลี่ยนไป 1 หน่วย
โดยที่ตัวแปรอิสระ x อื่นๆ คงที่
สำหรับการกำหนดตัวแปรอิสระ งานวิจัยนี้ได้อาศัยแนวคิดของแบบจำลองครัวเรือน
เกษตรที่แสดงความสัมพันธ์ของรายได้ครัวเรือนที่ถูกกำหนดจากตัวแปรอิสระประเภทสินทรัพย์
แรงงาน ทุน ปัจจัยการผลิตอื่นๆ และที่ดิน นอกจากนี้ยังได้อาศัยแนวคิดความสัมพันธ์ของตัวแปร
จากงานวิจัยของ Patricia และคณะ (2008) ซึ่งศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศเวียดนาม
และงานของ Lawson และคณะ (2006) ซึ่งศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศอูกันดา โดยใน
งานวิจัยอาศัยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แบบจำลอง
(1) แบบจำลองฐาน (baseline model) ได้แก่ แบบจำลองที่อาศัยตัวแปร ณ ปีเริ่มต้น
ซึ่งมีรูปสมการโดยย่อดังสมการ (5.2)
123