Page 119 -
P. 119
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
กายภาพ พบว่าครอบครองสินทรัพย์ประเภทเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรสูงกว่าสินทรัพย์
นอกภาคเกษตร แต่อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเข้าและออกจากความ
ยากจนของครัวเรือนที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของครัวเรือน และ
การถือครองสินทรัพย์ที่ดินและทุนกายภาพที่แตกต่างกัน ส่วนขนาดของที่ดินไม่ได้แสดงให้เห็นว่า
มีอิทธิพลต่อการเข้าและออกจากความยากจนของครัวเรือน
สำหรับโครงสร้างรายได้ครัวเรือนตามกลุ่มพลวัตความยากจนแสดงให้เห็นว่า รายได้นอก
ภาคเกษตรมีส่วนทำให้ครัวเรือนยากจนสามารถออกจากความยากจนได้ อย่างไรก็ตาม อาจไม่ได้
ช่วยครัวเรือนที่อยู่ในความยากจนเรื้อรัง เนื่องจากพบว่ายังมีครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในความยากจน
เรื้อรังแม้ครัวเรือนดังกล่าวจะมีสัดส่วนรายได้มาจากภาคนอกเกษตรเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อ
พิจารณาร่วมกับการประกอบอาชีพซึ่งเป็นแหล่งที่มาของรายได้ จะเห็นว่าครัวเรือนยากจนเรื้อรังมี
การประกอบอาชีพเป็นแรงงานรับจ้างนอกภาคเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และมีสัดส่วนของผู้มีรายได้
ประจำและประกอบอาชีพส่วนตัวน้อยมาก ดังนั้น การพึ่งพารายได้จากนอกภาคเกษตรของครัว
เรือนยากจนเรื้อรังส่วนใหญ่จึงเป็นแรงงานรับจ้างที่ได้ค่าแรงรายวัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับนายจ้างซึ่งมี
อำนาจต่อรองมากกว่าและบางส่วนเป็นงานตามฤดูกาล อาทิ งานในภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม
ทำให้มีความไม่แน่นอนของรายได้สูง ในกรณีที่หากมีการเลิกจ้างหรือไม่มีงานรองรับในอนาคต
ก็จะส่งผลให้ครัวเรือนขาดรายได้และตกอยู่ในความยากจนต่อไป ในขณะที่ครัวเรือนที่สามารถ
ออกจากความยากจนได้ส่วนใหญ่จะพึ่งพารายได้จากการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรในส่วนที่
เป็นเงินเดือนจากงานประจำ รวมทั้งรายได้จากการประกอบกิจการส่วนตัวเป็นหลัก ซึ่งมีความ
มั่นคงและแน่นอนของรายได้มากกว่า ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือน
จึงไม่ควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่เฉพาะการพัฒนารายได้นอกภาคเกษตร แต่ต้องให้ความ
สำคัญกับแนวทางการเพิ่มรายได้จากภาคเกษตรด้วยเพื่อลดความเสี่ยงและรองรับกรณีที่สมาชิก
ในครัวเรือนไม่สามารถหารายได้จากภาคนอกเกษตรได้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทาง
รายได้ของครัวเรือนและให้ครัวเรือนที่ยากจนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างแท้จริง
KNIT
118 สถาบันคลังสมองของชาติ