Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
4.5.4 โครงสร้างรายได้ครัวเรือน
เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบรายได้ของครัวเรือน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
รายได้ของแต่ละกลุ่มพลวัตความยากจนได้อย่างชัดเจนระหว่างปี 2531 และ 2552 และมีความ
แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่ม รายได้ครัวเรือนในปี 2531 ของทุกกลุ่มความยากจนมาจากรายได้
ภาคเกษตรเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนสูงถึงมากกว่าร้อยละ 80 ของรายได้รวม เป็นรายได้จากข้าวเป็น
สัดส่วนถึงร้อยละ 60 และรายได้จากพืชผลหลักอื่นและปศุสัตว์ และรายได้จากแรงงานในภาค
เกษตร ตามลำดับ ในขณะที่รายได้จากภาคนอกเกษตรมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 20 โดยเป็นรายได้
จากค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนเป็นหลัก ในปี 2552 (ตารางที่ 4.20)โครงสร้างรายได้มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยทุกกลุ่มมีสัดส่วนรายได้ภาคเกษตรลดลง ในขณะที่รายได้จาก
ภาคนอกเกษตรมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สอดคล้องกับแนวโน้มรายได้ครัวเรือนของทั้ง
ประเทศดังที่ได้แสดงในข้อมูลส่วนที่ 4.3 หากแยกพิจารณาตามกลุ่มพลวัตความยากจนจะเห็น
ความแตกต่างดังนี้
กลุ่มยากจนเรื้อรัง มีสัดส่วนรายได้หลักมาจากรายได้นอกภาคเกษตรร้อยละ 70 เพิ่มขึ้น
อย่างมากจากร้อยละ 20 ในปี 2531 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ในส่วนแรงงานรับจ้างนอก
ภาคเกษตรโดยเป็นแรงงานรับจ้างรายวันที่ครองสัดส่วนร้อยละ 30.6 เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 8.6
ในปี 2531 ส่วนรายได้จากการประกอบกิจการส่วนตัวมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 และรายได้จากเงิน
ส่งกลับร้อยละ 8 ลดลงจากร้อยละ 11 ในปี 2531 ในขณะที่รายได้อื่นๆ ซึ่งรวมถึงเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุและคนพิการมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 15.5 ส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าจำนวน
ผู้สูงอายุและผู้พิการทุพลภาพในกลุ่มยากจนเรื้อรังมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ สำหรับ
รายได้จากภาคเกษตรของครัวเรือนยากจนเรื้อรังลดลงเหลือเพียงร้อยละ 30 โดยรายได้จากข้าว
มีสัดส่วนร้อยละ 17 ลดลงมากจากร้อยละ 67 ในปี 2531
114 สถาบันคลังสมองของชาติ