Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                            โรคอหิวำต์ไก่
            ลักษณะทั่วไปของโรค
            1.  เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โดยมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย
            2.  เป็นโรคที่เกิดกับไก่ทุกอายุ แต่มักจะรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสูง
            3.  ไก่ป่วยจะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน�้าจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล�้ากว่าปกติ
               ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรงไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น
            กำรป้องกันและรักษำ
            1.  ป้องกันโดยการใช้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์
            2.  รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะคลอเตตร้าวัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น
               ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน


                                                             โรคฝีดำษไก่
            ลักษณะทั่วไปของโรค
            1.  เป็นโรคที่มักเกิดกับลูกไก่และไก่รุ่น
            2.  เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยการสัมผัส มียุงเป็นพาหะน�าโรค
            3.  ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนังเมื่อจุดพองขยาย
               ตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตาย

            กำรป้องกันและรักษำ
            1.   ใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษตามโปรแกรม


                                                       โรคติดเชื้อ อี. โคไล

            สำเหตุโน้มน�ำที่ท�ำให้ไก่เกิดควำมเครียดและเกิดโรค
            1.  สารพิษจากเชื้อรา
            2.  สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น หนาวเกินไป อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางคืนและกลางวัน ล้างโรงเรือน
               ไม่สะอาด แอมโมเนียในเล้าสูง การระบายอากาศในโรงเรือนไม่ดี
            3.  ถ้าเป็นโรคบิดเชื้อ อี. โคไล อาจผ่านจากล�าไส้เข้าสู่ระบบของร่างกายได้ง่ายขึ้น จะท�าให้เกิดรอยโรคที่ล�าไส้

            อำกำรที่แสดงออก
            1.  การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ถุงหัวใจอักเสบ ช่องท้องอักเสบ ไข่แดงแตกในช่องท้อง ท่อน�าไข่อักเสบ
               นัยน์ตาอักเสบ ล�าไส้อักเสบและการเกิดก้อนหนองในช่องท้อง
            2.  ในช่วงที่ไก่มีการติดเชื้อ อี. โคไล มักพบว่าไก่ถ่ายออกมาเป็นน�้า ซึ่งมักจะเนื่องจากการขับถ่ายผ่านไต
            กำรป้องกันและรักษำ
            1.  การจัดการฟาร์มขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การพักโรงเรือน การสุขาภิบาลที่ดี ลดการน�าเชื้อ อี. โคไล เข้าฟาร์ม เช่น
               การสัญจรผ่านฟาร์ม ระวังเรื่องสัตว์อื่นที่จะเป็นพาหะน�าโรคเข้าฟาร์ม รวมทั้งการก�าจัดหนูภายในฟาร์ม
            2.  ระมัดระวังเรื่องแหล่งน�้าที่จะใช้เลี้ยงไก่ ซึ่งสามารถส่งตัวอย่างน�้าไปตรวจจ�านวนเชื้อแบคทีเรียและ
               อี. โคไลได้ ถ้าพบเชื้อจ�านวนมาก ควรบ�าบัดน�้าด้วยสารคลอรีนก่อนใช้เลี้ยงไก่
        28   กำรเลี้ยงไก่ไข่ไทย กรมปศุสัตว์
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35