Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                    โรคที่ส�ำคัญในไก่ไข่และกำรป้องกัน


                                                 โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ

            ลักษณะทั่วไปของโรค
            1.  เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ไต รังไข่ และท่อน�าไข่
            2.  เป็นโรคที่เกิดแบบเฉียบพลัน การติดต่อของโรครวดเร็ว
            3.  ไก่แสดงอาการของระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก โดยมีอาการหายใจแบบเสียงกรน ไอ จาม มีน�้ามูก ตาแฉะ
            4.  ไข่ลด ซึ่งถ้าเป็นช่วงท้ายๆของการไข่ ไข่จะลดมากและไก่จะผลัดขน ซึ่งจะใช้เวลานานในการที่ไก่จะไข่ได้มาก
               ขึ้นอีก แต่ถ้าเป็นในไก่ไข่สาว ไข่จะลดไม่มาก จะไข่ดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ แต่มักจะต�่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน
               ในช่วงอายุนั้นๆ
            5.  คุณภาพไข่เลวลง เช่น พบไข่ขาวเหลว ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างไข่ขาวชั้นนอกและชั้นใน ไข่แดง
               แยกจากไข่ขาว
            6.  ลักษณะภายนอกของไข่ จะมีรูปร่างผิดปกติเปลือกไข่บางหรือหนาผิดปกติ มีแคลเซียมเกาะแบบ
               ไม่สม�่าเสมอ ท�าให้เปลือกไข่ไม่เรียบ รูปร่างของไข่อาจไม่กลับคืนสู่สภาพปกติ ถึงแม้ไก่จะหายจากโรคแล้ว
            กำรป้องกันและรักษำโรคแทรกซ้อน
            1.  เนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ ต้องป้องกันโดยการ
               ให้วัคซีนตามโปรแกรม คือ ทุกๆ 8 สัปดาห์
            2.  ให้ไก่อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม มีน�้าและอาหารให้กินอย่างพอเพียง
            3.  โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นให้รักษาตามอาการ


                                                           โรคนิวคำสเซิล

            ลักษณะทั่วไปของโรค
            1.  เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายเร็วมากและก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรง
            2.  เกิดจากเชื้อไวรัส
            3.  ถ้าเป็นแบบรุนแรงไก่มีอาการท้องเสีย
            4.  ไก่มีอาการหายใจล�าบาก อ้าปากหายใจ ไอ กินอาหารน้อยลง
            5.  ไข่ลดหรือหยุดไข่นาน 1 – 3 สัปดาห์ และเริ่มไข่ต่อแต่จะไม่ไข่เท่าเกณฑ์ปกติ
            6.  พบไข่นิ่มเหลวและไข่แดงแตกในช่องท้อง
            7.  คุณภาพของไข่เลวลง
            กำรป้องกันและรักษำโรคแทรกซ้อน
            1.  เนื่องจากโรคนิวคาสเซิลเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ ต้องป้องกันโดยการให้วัคซีน
               ตามโปรแกรมคือทุกๆ 8 สัปดาห์
            2.  ท�าความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ เครื่องใช้ และพ่นด้วยน�้ายาฆ่าเชื้อโรค
            3.  ห้ามน�าอุปกรณ์เครื่องใช้ในฟาร์มสัตว์ปีกอื่นๆเข้ามาใช้ในฟาร์ม
            4.  โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก็รักษาตามอาการ

                                                  กำรเลี้ยงไก่ไข่ไทย กรมปศุสัตว์ 27
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34