Page 21 -
P. 21

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



















                      โคตายด้วยโรคแอนแทรกซ์            เลือดที่ไม่แข็งตัว(ไม่จับกันเป็นก้อน)

            การรักษา
                   ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้และยังได้ผลดี คือยา เพนนิซิลลิน, เตตร้าซัยคลีน,

            อ๊อกซี่เตตร้าซัยคลีน คล๊อกซาซิลิน และอีริโทรมัยซิน แต่ส่วนใหญ่จะรักษาไม่ทัน


            การป้องกัน
                   1. ฉีดวัคซีนให้สัตว์ตั้งแต่ อายุ 14 สัปดาห์ขึ้นไป และฉีดซ้ำทุกปี สำหรับพื้นที่
            ที่เคยมีโรคระบาดให้ฉีดซ้ำทุก 6 เดือน

                   2. สัตว์ที่ตายกะทันหันโดยที่ไม่ทราบสาเหตุหรือสงสัยเป็นโรคแอนแทรกซ์
            ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ในท้องที่ และห้ามชำแหละหรือเคลื่อนย้ายซากสัตว์

            ก่อนที่สัตวแพทย์จะมาถึง
                   3. สัตว์ที่ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ต้องทำลายซาก รวมทั้งดินและสิ่งของต่างๆ
            ที่เปื้อนเลือดตลอดจนสิ่งขับถ่ายของสัตว์ โดยเผาหรือฝังรวมกันให้ลึกประมาณ 2 เมตร

            แล้วโรยปูนขาวทับก่อนกลบ ส่วนอุปกรณ์ต่างๆให้เผาหรือแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น
            น้ำยาฟอร์มัลดีไฮด์ 5-10% หรือ กลูเตอรัลดีไฮด์ 2% นานไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง

                   4. ไม่ลักลอบนำโค กระบือ แพะ แกะ ที่มีชีวิต ซาก หรือเนื้อสัตว์จากชายแดน
            เข้ามาในประเทศ


            รอยโรค
                   สัตว์ที่ตายหรือสงสัยเป็นโรคแอนแทรกซ์ ห้ามผ่าซากหรือชำแหละ ในกรณีที่

            ทำการผ่าซากโดยไม่ทราบสาเหตุจะพบม้ามมีขนาดใหญ่ สีดำคล้ำและยุ่ย

            การเก็บตัวอย่าง

                   ตัวอย่างที่เก็บ ได้แก่ เลือด ดินปนเปื้อนเลือด ควรเก็บหลังจากสัตว์ตายใหม่ๆภายใน
            2-3ชั่วโมง ผู้เก็บควรสวมถุงมือ ใส่ตัวอย่างในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดมิดชิดและไม่แตกง่าย

            พร้อมติดฉลากว่า สงสัยโรคแอนแทรกซ์  แช่น้ำแข็งส่งตรวจ
             คู่มือสุขภาพโคเนื้อ
           
           
           
           
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26