Page 26 -
P. 26
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาการ
ระยะฟักตัว 1 วัน – 3 สัปดาห์ ส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 10 -14 วัน แต่บางรายก็อาจ
นานถึง 4 เดือน
โรคนี้มักเกิดกับกล้ามเนื้อขากรรไกรและขาหลัง โดยสัตว์ป่วยจะมีอาการ
ขากรรไกรแข็ง
อ้าปากได้ลำบาก น้ำลายไหล กลืนน้ำ และอาหารลำบาก กระวนกระวาย หัวและ
คอแข็งเหยียดเกร็ง หนังตาหรือตายื่นออกมา ขาแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก หางแข็งและ
เหยียดชี้ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะแข็งเกร็ง หายใจลำบาก บางรายมีอาการท้องอืด สัตว์ที่เป็น
โรคนี้จะมีความรู้สึกไวและตื่นเต้นตกใจง่าย ถ้ามีเสียงดังและแสงสว่างมากหรือเมื่อสัมผัสตัว
จะมีอาการเกร็งมากขึ้น โดยทั่วไปในระยะแรกชีพจรและอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ป่วยจะปกติ
หรือสูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจมีอุณหภูมิสูง (42 - 43 ซ) และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
o
จนกระทั่งตา
การรักษา
1. ให้รักษาตามอาการ ถ้ามีแผลให้ทำความสะอาดด้วยสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% แล้วใส่ทิงเจอร์ไอโอดีน ให้สัตว์ป่วยอยู่ในที่ที่
เงียบสงบและมืดหรือมีแสงสว่างไม่มาก ให้ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่นยากล่อมประสาท
ได้แก่ คลอโปรมาซีน ไฮโดรคลอไรด์, ไดอะซิแพม เป็นต้น และให้สารอาหารทางหลอดเลือด
2. ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน
3. ให้ยาต้านพิษบาดทะยัก (เททานัส แอนติท๊อกซิน)
การป้องกัน
1. ฉีดวัคซีน (เททานัส ท็อกซอยด์)
2. เมื่อมีบาดแผลให้ทำความสะอาดทันทีด้วยสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดด้วย
น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ หรือใส่ทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วให้
ยาปฏิชีวนะ
3. ในการผ่าตัด ทำคลอด ตัดสายสะดือลูกสัตว์ การตอน และตัดเขาฯลฯ ต้องรักษา
ความสะอาดทุกขั้นตอนที่ทำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาด โดยต้มฆ่าเชื้อในน้ำเดือด
ไม่น้อยกว่า 30 นาที
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ