Page 23 -
P. 23

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว













                   ผิวหนังที่คอบวมเพราะมีแก๊สอยู่ข้างใน






            การรักษา

                   ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้แก่ ยาเพนนิซิลลิน อ๊อกซี่เตตร้าซัยคลีน คลอเตตร้าซัยคลีน
            ควรรักษาในระยะแรกๆ ที่เริ่มป่วยจะได้ผลดี หากอาการมากจนสัตว์ล้มลงนอนการรักษา
            มักไม่ได้ผล



            การป้องกัน

                   1. ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน กรณีที่ฉีด
            วัคซีนให้กับลูกโคที่อายุน้อยกว่า 4 เดือน ต้องฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 6 เดือน
                   2. โรคนี้เป็นโรคในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 เมื่อสงสัยมีสัตว์ป่วย

            หรือตายด้วยโรคนี้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์มาตรวจทันที  ส่วนสัตว์ที่ตายห้ามนำไปบริโภค
            ให้นำไปฝังหรือเผา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค



            รอยโรค
                   ซากขึ้นอืดเร็ว มีเลือดเป็นฟองออกจากปาก จมูก และทวารหนัก เมื่อเปิดผ่าบริเวณ

            ที่บวมจะพบของเหลวสีดำหรือมีเลือดปนและมีฟองอากาศอยู่ภายใน ซึ่งอาจมีกลิ่นเหม็น ส่วน
            กล้ามเนื้อจะมีสีดำแดงหรือดำและมีฟองอากาศแทรกอยู่ทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง

            จะบวม







                                                    ใต้ผิวหนังที่บวมจะมีแก๊สแทรกอยู่และ
                                                            เนื้อเยื่อมีสีแดงคล้ำหรือดำ






             คู่มือสุขภาพโคเนื้อ
           
           
           
           
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28