Page 19 -
P. 19
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การรักษา
ยาปฏิชีวนะที่ใช้ ได้แก่ยาเพนนิซิลลิน เตตร้าซัยคลีน สเตรปโตมัยซิน หรือยากลุ่ม
ซัลฟา ควรรักษาในระยะแรกๆ ที่เริ่มป่วยจะได้ผลดี แต่ถ้าสัตว์มีอาการหนักการรักษาจะไม่ได้ผล
การป้องกัน
1. ฉีดวัคซีน ให้กับสัตว์ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไปและฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
2. รักษาสุขภาพสัตว์ให้สมบูรณ์แข็งแรง ให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ให้อาหาร
ที่ดีมีคุณภาพทำความสะอาดรางน้ำและรางอาหารอยู่เสมอ
3. โรคนี้เป็นโรคในพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ. 2499 ดังนั้นเมื่อสงสัยมีสัตว์ป่วย
หรือตายด้วยโรคนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจรักษา ป้องกันและ
ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ถ้ามีสัตว์ตายให้ฝังหรือเผา ห้ามนำไปบริโภค
รอยโรค
เนื้อเยื่อ อวัยวะภายใน ได้เแก่ ต่อมน้ำเหลืองต่างๆเช่น หัวใจ ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลือง
บริเวณคอ มีเลือดคั่งหรือจุดเลือดออกกระจายทั่วไป เมื่อผ่าดูพบของเหลวคล้ายวุ้นสีเหลืองใส
หรือมีเลือดปน ขังอยู่ ส่วนในช่องอกและช่องท้องจะมีของเหลวสีดำหรือมีเลือดปน บางตัว
อาจพบผนังลำไส้มีจุดเลือดออก
การเก็บตัวอย่าง
เก็บตัวอย่าง เลือด และ อวัยวะ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต ม้าม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
แช่เย็นแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว
โคเป็นโรคแสดงอาการซึม และมีน้ำมูกปนหนอง
โคเป็นโรคอาการบวมน้ำที่หัว และคอ
คู่มือสุขภาพโคเนื้อ