Page 14 -
P. 14
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีตุ่มและแผลที่ลิ้น ทำให้เกิดน้ำลายไหล
การรักษา
เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสจึงไม่มียาจำเพาะในการรักษา แต่สามารถป้องกันโรคได้
โดยการฉีดวัคซีน กรณีสัตว์ป่วยเมื่อพบรอยโรคหรือแผลบริเวณลิ้นหรือเนื้อเยื่อภายใน
ช่องปากและแผลที่อุ้งกีบ สามารถใช้ยาปฏิชีวนะและยาม่วง (เย็นเชี่ยน ไวโอเล็ต) รักษาแผล
เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนให้สัตว์ปีละ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน สัตว์ที่อายุน้อยเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ
6 เดือน และฉีดครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน จากนั้นฉีดซ้ำทุก 6 เดือน กรณีมีโรคระบาด
เกิดขึ้น ให้ฉีดซ้ำทุกระยะ 4 เดือน
รอยโรค
เม็ดตุ่มใสบริเวณเยื่อลิ้น กระพุ้งแก้ม อุ้งเท้าและไรกีบ
การเก็บตัวอย่าง
เก็บเนื้อเยื่อปริมาณ 1 กรัมใส่ในขวดที่มีกลีเซอร์รีนบัฟเฟอร์ 50% ใส่น้ำยาให้ท่วม
เนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่นและปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล เขียนชื่อหรือเลขประจำตัวสัตว์
ข้างขวดให้ถูกต้องและชัดเจน ห่อทับด้วยกระดาษหลายชั้น ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการรั่วไหล จากนั้นนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด กรณีที่ต้องนำส่ง
ทางไปรษณีย์ให้ห่อทับด้วยกระดาษหลายๆชั้นเพื่อป้องกันการแตกและการรั่วไหล
บรรจุลงกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่าย พร้อมบันทึกประวัติสัตว์ป่วย รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
ทันที
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ