Page 16 -
P. 16

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               อาการ
                       มีตั้งแต่รุนแรงแบบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน เรื้อรัง และไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น

               อาการที่พบโดยทั่วไป  มีไข้ ปัสสาวะเป็นสีแดง เต้านมอักเสบ ผสมไม่ติด แท้งลูก ในลูกสัตว์มี
               เยื่อเมือกซีดหรือเหลืองเนื่องจากดีซ่าน









                                                              โคปัสสาวะมีสีเลือด








               การรักษา

                       - ไดไฮโดรสเตร็ปโตมัยซิน  25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
               วันละครั้ง 3 – 5 วัน
                       - แอมม็อกซี่ซิลลิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้ง

               3 – 5 วัน
                       - อ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน คลอเตตร้าซัยคลิน ผสมอาหารในอัตราส่วน 800 กรัมต่อตัน

               ให้กินนาน  8 – 11 วัน
                       - เตตร้าซัยคลิน 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ผสมอาหารให้กินเพื่อป้องกัน
               การติดเชื้อ



               การป้องกัน

                       1. กำจัดพาหะของโรค  เช่น หนู
                       2. เมื่อพบว่าสัตว์ตัวใดติดเชื้อ ให้แยกออกจากฝูง
                       3. การสุขาภิบาล และการจัดการที่ดี

                       4. มีการเฝ้าระวังในแหล่งที่พบว่ามีผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส



               รอยโรค
                       แบบเฉียบพลัน พบเลือดจาง ดีซ่าน ปัสสาวะเป็นสีแดง จุดเลือดออกใต้ผิวหนังอาจพบ
               รอยโรคแผลหลุมและมีเลือดไหลที่กระเพาะแท้ แบบเรื้อรังพบจุดขาวเล็กๆที่บริเวณกรวยไต


                                                                                          
                                                                                          
                                                                     สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ 
                                                                                         
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21