Page 172 -
P. 172
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
4-1
บทที่ 4
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในภาคตะวันออก
การพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard: ESB) การประกาศเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone SEZ) และการประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก :
Eastern Economic Corridor: EEC) มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในภาคตะวันออกโดยพื้นที่
ป่าไม้ และป่าชายเลนบางส่วนลดลงเพื่อน ามาใช้เพื่อการเกษตร ซึ่งต่อมาพื้นที่การเกษตรที่ใช้อยู่ก่อนการ
พัฒนาเข้ามาด าเนินการก็มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนไปเป็นชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน
เพื่อล าดับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในบทนี้จะมีการทบทวนสาระส าคัญรวม 7 เรื่อง คือ
(1) การประกาศใช้ผังเมืองของจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก (2) การซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออก
(3) การจัดที่ดินท ากินในพื้นที่ภาคตะวันออก (4) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากโครงการพัฒนาของรัฐ
(5) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากโครงการอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม (6) การส ารวจการใช้ที่ดินใน
ภาคตะวันออก พ.ศ. 2564/2565 และ(7) การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินภาคตะวันออกในภาพรวม
โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1 การประกาศใช้ผังเมืองของจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก
พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 71ก
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 รวมทั้งฉบับที่ 12 พ.ศ. 2525
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558
ในปี 2562 ได้มีการประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่องแผนผังการ
ใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. 2562 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 301ง ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2562
จากประกาศดังกล่าวนี้ ท าให้ผังเมืองรวมจังหวัด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา สิ้นสุดลงเป็นผังเมือง
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จ านวน 1 ผัง และมีผังเมืองรวม/ชุมชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
จ านวน 30 ผัง ดังรายละเอียดในตารางที่ 4-1 (ส านักผังเมืองรวม, 2563: 82-83)
จังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกที่ยังคงมีผังเมืองรวมบังคับใช้อยู่อีก 4 จังหวัด คือ (1) จังหวัดตราด
(2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดปราจีนบุรี และ(4) จังหวัดสระแก้ว โดยมีรายละเอียดในตารางที่ 4-2
(ส านักผังเมืองรวม, 2563: 86-88)
ส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตันออก (2563: 3) ได้เสนอแผนผังการใช้
ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีเนื้อที่ 8,291,250 ไร่ ไว้ดังนี้
1. พื้นที่คงเดิมร้อยละ 91.71 หรือ 7,603,905 ไร่
2. พื้นที่น าไปปรับใช้ประโยชน์ใหม่ร้อยละ 8.29 หรือ 687,345 ไร่
พื้นที่ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
2.1 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร้อยละ 2.93 หรือ 242,934 ไร่
2.2 พื้นที่พัฒนาเมือง ร้อยละ 3.37 หรือ 279,415 ไร่
2.3 พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเดิม ร้อยละ 1.99 หรือ 164,996 ไร่