Page 33 -
P. 33
ิ
์
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
จัดการป่าไม้ของ PEFC ในปัจจุบันมีการให้การรับรองเฉพาะกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเท่านั้น ยัง
ไม่มีการให้การรับรองการจัดการป่าไม้
2.1.5 สถานภาพการรับรองการจัดการป่าไม ้
แนวคิดเกี่ยวกับการรับรองการจัดการป่าไม้ได้พัฒนามาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 (FAO, 2020) โดยจาก
ื้
รายงานการประเมินทรัพยากรป่าไม้ของโลกของ FAO (2020) พบว่าพนที่ป่าไม้ทั้งหมดที่ได้รับการรับรองในปี
พ.ศ. 2562 จำนวน 426 ล้านเฮกตาร์ ประกอบด้วยพนที่ที่ได้รับการรับรอง FSC จำนวน 200 ล้านเฮกตาร์
ื้
ื้
พนที่ที่ได้รับการรับรอง PEFC จำนวน 319 ล้านเฮกตาร์ โดยมีพนที่ที่ได้รับการรับรองทั้ง FSC และ PEFC
ื้
ั
จำนวน 93 ล้านเฮกตาร์ (FAO, 2020) จากข้อมูลในเดือนกุมภาพนธ์ พ.ศ. 2563 มีการรับรองการจัดการป่า
ื้
ไม้ตามมาตรฐาน FSC 1,683 รายการ 82 ประเทศ คิดเป็นพนที่ที่ได้รับการรับรองจำนวน 204,376,134
เฮกตาร์ (FSC, 2014) โดยมีการรับรองมากที่สุดในทวีปยุโรป 51.1% และทวีปอเมริกาเหนือ 31.2% ในขณะ
ที่ทวีปอเมริกาใต้, เอเชีย, แอฟริกา และโอเชียเนีย มีการรับรองป่าไม้ 6.8%, 5.8%, 3.7% และ 1.3%
ตามลำดับ (FSC, 2020) สำหรับการรับรองการจัดการป่าไม้ตามมาตรฐาน PEFC ในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน
พนที่ที่ได้รับการรับรองทั้งหมด 324 ล้านเฮกตาร์ โดยมีการรับรองมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ 52% และ
ื้
ทวีปยุโรป 37% ในขณะที่โอเชียเนีย เอเชีย และ อเมริกาใต้และอเมริกากลาง มีการรับรองป่าไม้ 4%, 4% และ
3 % ตามลำดับ (PEFC, 2020) สำหรับประเทศไทย ขวัญชัย และคณะ (2563ก) แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมี
พื้นที่สวนไม้เศรษฐกิจที่มีการจัดการได้รับการรับรองตามมาตรฐานระดับนานาชาติเพียง 18 รายการ ครอบคลุม
พนที่ 356,638 ไร่ มีเพยง 3 ชนิดไม้ ได้แก่ สัก (197,358.50 ไร่), ยูคาลิปตัส (50,073.69 ไร่) และยางพารา
ื้
ี
(109,206 ไร่) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีสวนยางพาราที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานสากลถึง 99.6%
2.1.6 บทบัญญัติในมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ของ FSC
การรับรองการจัดการป่าไม้ (FSC-FM) เป็นมาตรฐานในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable
Forest Management: SFM) ตามแนวทางที่ Forest Stewardship Council (FSC) กำหนด โดย FSC มี
การรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ที่ตรวจรับรองคุณภาพของการจัดการป่าไม้ตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้าง
สวนป่า ไปจนถึงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยมีจำนวน 10 หลักการ (Principles) 70 เกณฑ์ (Criteria) และ
211 ตัวชี้บอก (Indicators) ตามลำดับ ซึ่งครอบคลุมหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้าน
สิ่งแวดล้อม (เวอร์ชั่น 5 Document reference code: FSC-STD-01-001 V5-2 EN, FSC-STD-60-004 V2-
0 EN) (FSC, 2015, 2018b) ในที่นี้ขอเสนอภาพรวมจำนวน 10 หลักการ ดังนี้
20