Page 32 -
P. 32
ิ
ิ
์
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้บริษัททำไม้ในประเทศกาน่าเข้ารับการรับรองป่าไม้ คือ ความต้องการ
ของลูกค้า การเพมส่วนแบ่งการตลาด และความจำเป็นในการลงทุน (Carlsen et al., 2012) นอกจากนี้
ิ่
Carlsen et al. (2012) ได้สรุปกลุ่มของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการรับรองป่าไม้ ดังนี้
1) เงื่อนไขด้านการตลาด ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคในสหภาพ
ยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึง
์
ี
ความเป็นไปได้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม อกทั้งเป็นการเพมส่วนแบ่งการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการ
ิ่
รับรองป่าไม้ และเป็นการส่งสัญญาณในเชิงบวกรวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือของบริษัท
2) ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรับรองป่าไม้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการ
ึ้
ตัดสินใจรับการรับรองป่าไม้ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขนสามารถแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น การเตรียมการ
และการดำเนินการขอรับการประเมิน FSC และการตรวจประเมิน ส่วนค่าใช้จ่ายทางออม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่
้
เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จำเป็นเพื่อนำมาบริหารจัดการและการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรับรอง
3) การกำกับดูแลของรัฐ เป็นผลสืบเนื่องถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากตัดสินใจรับการรับรอง
ป่าไม้ เนื่องจากประเทศที่มีข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดอยู่แล้วจะสามารถดำเนินงานให้ตอบสนองต่อ
ั
มาตรฐานการจัดการป่าไม้ที่สูงได้ง่าย ในขณะที่ประเทศกำลังพฒนาที่มีกรอบกฎหมายและการบังคับใช้ที่ไม่
ชัดเจนทำให้เกิดความแตกต่างกันมากระหว่างการปฏิบัติงานจริงและความต้องการการรับรองป่าไม้ ซึ่งจะมี
ผลกระทบต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน FSC และมีค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เพิ่มสูงขึ้น
4) บรรทัดฐาน ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของผู้นำองค์กรเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการ
ตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือความรับผิดชอบต่อสังคม
5) ความตระหนักและความสามารถขององค์กรที่ตรวจรับรอง โดยเฉพาะในประเทศที่การ
กำกับดูแลของรัฐไม่ดีพอ รวมถึงการมีองค์กรที่ตรวจรับรองในระดับท้องถิ่น ก็มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการ
ตรวจรับรองป่าไม้
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นการรับรองป่าไม้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ การรับรองการจัดการป่า
ไม้ และการรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งงานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะการรับรองการจัดการป่าไม้เท่านั้น โดย
ศึกษาเฉพาะระบบการรับรองการจัดการป่าไม้ของ FSC ซึ่งเป็นองค์กรที่มีระบบการรับรองป่าไม้ที่เป็นมาตรฐาน
ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีการให้การรับรองแล้วในประเทศไทย ในขณะที่ระบบการรับรองการ
19