Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                การใช้และวิธีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืช

                      ลักษณะการน�าจุลินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ไปใช้ควบคุมโรคพืชขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
                ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

                      1. การใช้ในลักษณะเป็นปุ๋ยชีวภาพ เป็นการใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้ธาตุอาหารหรือปุ๋ยแก่พืช
                เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือโครงสร้างของธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ไม่เหมาะสม พืชไม่สามารถน�าไปใช้
                ประโยชน์ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสมต่อการน�าไปใช้ของพืช และเสริมประสิทธิภาพให้พืชมีการดูดธาตุอาหารในดิน

                ไปใช้ได้มากขึ้น
                      2. การใช้ในลักษณะสารกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนพืช จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในกลุ่มนี้

                ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติในการปลดปล่อยสารกระตุ้นได้โดยตรง ซึ่งสารกระตุ้นเหล่านี้จะมีคุณสมบัติหลายอย่าง
                ซึ่งรวมถึงการเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วย
                      3. การใช้ในลักษณะของการควบคุมโรคพืช จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สามารถผลิต

                สารปฏิชีวนะยับยั้งเชื้อโรค บางชนิดมีประสิทธิภาพในการเจริญแข่งขันครอบครองพื้นผิวพืช และจ�ากัดพื้นที่
                และอาหารของเชื้อโรค หรือการเป็นปรสิต ตลอดจนการกระตุ้นภูมิต้านทานพืชตามลักษณะการออกฤทธิ์

                ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยประสิทธิภาพและความสามารถในการออกฤทธิ์จะ
                สามารถน�าแบคทีเรียที่มีประโยชน์เหล่านั้นมาใช้ในการควบคุมโรคพืชได้เป็นอย่างดี
                      ส�าหรับวิธีการน�าจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และ/หรือผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ไปใช้ในการควบคุมโรคพืชนั้น

                สามารถน�าไปปรับใช้ในระบบการผลิตพืชในทุกระยะการปลูก ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่แปลงปลูก หรือวัสดุปลูก
                การคลุกเมล็ดก่อนปลูก การพ่นใบหรือส่วนต่าง ๆ ที่อยู่เหนือดินเพื่อควบคุมโรค เช่นเดียวกับการใช้สารเคมี

                ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์มีกรรมวิธีการในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                      1. การคลุกเมล็ด วิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุด เหมาะส�าหรับการใช้ควบคุมโรคในระบบราก
                และล�าต้นใต้ดิน นอกจากนี้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ยังสามารถควบคุมโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และเพิ่มความ

                แข็งแรงของต้นกล้าได้ด้วย
                      2. การใส่หรือเติมหรือราดลงในดิน เป็นวิธีการที่ช่วยให้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคพืช

                ในดินอย่างใกล้ชิดท�าให้เชื้อโรคลดลงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูก แต่วิธีนี้มีข้อจ�ากัด เนื่องจาก
                ค่อนข้างยุ่งยากกว่าวิธีแรก และต้องใช้ปริมาณเชื้อมาก สิ้นเปลืองแรงงาน
                      3. การผสมกับวัสดุปลูก วิธีการนี้จะช่วยให้จุลินทรีย์มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและช่วยส่งเสริมการเจริญ

                ของพืชได้ เพราะจะอาศัยอยู่ในส่วนของวัสดุปลูก จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรค
                      4. การพ่นบนใบพืช เป็นวิธีการพ่นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ลงบนต้นพืช เพื่อควบคุมโรคที่เกิดกับใบ

                โดยมีรายงานความส�าเร็จของการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคที่ผิวใบอยู่มากพอสมควร
                      5. การใส่ลงบนส่วนขยายพันธุ์และกล้าพืช เป็นวิธีการที่ช่วยให้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ได้สัมผัสกับส่วนของ
                พืชที่จะใช้ขยายพันธุ์ รวมทั้งกล้าพืช ก่อนที่เชื้อโรคจะเข้าท�าลายพืช เป็นวิธีที่ได้ผลดี ประหยัดค่าใช้จ่าย และ

                สะดวกต่อการปฏิบัติ การพ่นหรือการใส่เชื้อจุลินทรีย์หลังจากพืชเจริญ และก่อนที่เชื้อโรคพืชจะเข้าท�าลาย
                ยังช่วยกระตุ้นให้พืชมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น









                                                                                                               61
                                                                                  บทที่ 4  การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
                                                                                                     ดร.สุพจน ์  กาเซ็ม
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73