Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว































                ภาพที่ 4.2 แสดงลักษณะกลไกการเจริญแข่งขัน และการผลิตสารยับยั้งเชื้อโรคพืช ของแบคทีเรียปฏิปักษ์

                           จากการทดสอบคุณสมบัติในสภาพห้องปฏิบัติการ



                      3. กลไกการเป็นปรสิต (Parasitism)
                      กลไกการเป็นปรสิตหรือพาราไซต์เป็นกลไกหนึ่งของกลุ่มจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ต้องการใช้สารอาหาร
                จากจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ โดยตรงด้วยการฆ่าหรือท�าลายส่วนห่อหุ้ม เช่น ผนังเซลล์ หรือผนังล�าตัว หรือเส้นใย

                ซึ่งพบได้ทั้งในกรณีของราและแบคทีเรียปฏิปักษ์ โดยจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นปรสิตจะเข้าไปเจริญ อาศัย
                และท�าลายสิ่งมีชีวิตอื่นนั้นพบได้ไม่มากนัก และการใช้ควบคุมโรคพืช ยังไม่ประสบความส�าเร็จเหมือนการ

                ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ตัวห�้า และตัวเบียน ท�าลายแมลงศัตรูพืช เนื่องจากมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่
                เกี่ยวข้องหลายปัจจัย ตัวอย่างการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีกลไกการเป็นปรสิตหรือพาราไซต์ในด้านการควบคุม
                เชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ Erwinia urediniolytica และราปฏิปักษ์ Verticillium

                lecanii, Sphaerellopsis filum และ Cladosporium sp. เข้าท�าลาย pedicel ของสปอร์เชื้อราสนิม การใช้
                แบคทีเรีย Pasteuria penetrans ที่เป็นปรสิตของไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปม

                เป็นต้น นอกจากนี้ราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. และ Gliocladium spp. บางสายพันธุ์ยังมีกลไกการเป็น
                พาราไซต์ท�าลายราสาเหตุโรคเป้าหมาย (Mycroparasite) ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเชื้อสาเหตุโรคทางระบบราก
                และล�าต้น ด้วยการแทงผ่านเส้นใยเข้าสู่ผนังเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช เช่น Pythium spp. Phytophthora

                spp. หรือ Sclerotium rolfsii โดยใช้กลไกร่วมจากการพันรัดเส้นใยและสร้างสารในกลุ่ม lytic enzyme
                เพื่อย่อยผนังเซลล์ของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ก่อนจะดูดกินของเหลวภายในเส้นใย นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้

                เชื้อรา Ampelomyces quisqualis เป็น Mycoparasite ควบคุมเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
                สาเหตุโรคราน�้าค้างในพืชตระกูลแตง การใช้รา Coniothyrium minitans และ Sporidesmium sclerotiorum
                ในการควบคุมเชื้อราในกลุ่มที่สามารถสร้างโครงสร้าง Sclerotia ในการอยู่ข้ามฤดู ได้แก่ Rhizoctonia solani

                และ Sclerotium rolfsii เป็นต้น









                                                                                                               57
                                                                                  บทที่ 4  การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
                                                                                                     ดร.สุพจน ์  กาเซ็ม
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69