Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นิเวศวิทยาและการเขตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโดยชีววิธี
เนื่องจากการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีเป็นการใช้สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ได้แก่ จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุม
โรคพืช ดังนั้นองค์ประกอบของการควบคุมโรคพืช โดยชีววิธีจึงครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ
การเกิดโรคพืช ได้แก่ องค์ประกอบด้านจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ องค์ประกอบด้านโรคและเชื้อสาเหตุโรค องค์ประกอบ
ด้านพืชอาศัย และองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมและการปลูกพืช ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้หากไม่เหมาะสม
หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและศักยภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืช
1. องค์ประกอบด้านจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ได้แก่ ชนิดของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แหล่งที่อยู่อาศัย ชีววิทยาการ
มีชีวิตของเชื้อในสภาพธรรมชาติ การมีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์อื่น ๆ ในธรรมชาติ ตลอดจนกลไกการเป็นเชื้อปฏิปักษ์
รวมถึงแนวทางการใช้ทั้งในรูปเชื้อสด ผลิตภัณฑ์สูตรน�้า หรือสูตรผง ตลอดจนการใช้และวิธีการใช้ที่เหมาะสม
2. องค์ประกอบด้านเชื้อสาเหตุโรคพืช เนื่องจากปัญหาโรคพืชมีความหลากหลายจากชนิดของเชื้อ
สาเหตุโรค ได้แก่ รา แบคทีเรีย ไวรัส ไวรอยด์ ไฟโตพลาสมา และไส้เดือนฝอย และกลไกการเข้าท�าลายพืชของเชื้อ
โรคแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ได้แก่ โรคที่ราก โรคทางเมล็ด โรคที่ใบ ล�าต้น ดอก ผล
โรคในระยะออกดอก ติดผล โรคในระยะหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น หรืออาจต้องค�านึงถึงแหล่งที่อยู่ของเชื้อด้วย
เช่น อยู่ติดกับเมล็ดพันธุ์ อยู่ในดิน อยู่ในเศษซากพืช อากาศ แหล่งน�้า หรือแมลงพาหะเป็นต้น นอกจากนี้
ยังสัมพันธ์กับระบบการเข้าท�าลายพืชของเชื้อตั้งแต่ขั้นตอนการสัมผัสพืช (Attachment) การแทงผ่าน
(Penetration) การลุกลาม (Invasion) การครอบครองพืช (Colonization) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถน�าไป
ใช้ในการคัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีคุณสมบัติหรือกลไกการควบคุมและยับยั้งเชื้อโรคนั้น ๆ
3. องค์ประกอบด้านพืชอาศัย พืชอาศัยเป็นตัวกลางส�าคัญของการมีชีวิตรอดของเชื้อจุลินทรีย์
ทั้งจุลินทรีย์ที่ไม่ใช่เชื้อสาเหตุโรคพืช (Non pathogenic microorganism) และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืช
(Plant pathogen) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีจุดมุ่งหมายในการครอบครองพืชเพื่อใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
และเป็นแหล่งอาหาร และเรามักเรียกรวมในระบบความสัมพันธ์ว่า “Plant-microbe interaction” โดย
จุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชมีเป้าหมายในการเข้าท�าลายพืช เพื่อใช้อาหารภายในต้นพืช ทั้งเนื้อเยื่อ
และเซลล์ ในขณะที่จุลินทรีย์ที่ไม่ใช่เชื้อโรคต้องการสารอาหารจากที่พืชปลดปล่อยออกมาภายนอกผิว เช่น Root
exudates/leaf exudates เป็นต้น จุลินทรีย์ที่สัมพันธ์กับพืชจึงมีความหลากหลายทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัยบริเวณราก
ได้แก่ Rhizospheric microorganism และกลุ่มที่อยู่กับผิวพืชส่วนเหนือดิน หรือที่เรียกว่า Phyllospheric
microorganism นอกจากนี้ อายุพืช โครงสร้างต่าง ๆ ของพืช เช่น รากแขนง ผิวล�าต้น ผิวใบ จะมีความส�าคัญ
อย่างยิ่งต่อการด�ารงชีพของจุลินทรีย์
4. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศการปลูกพืช มีความส�าคัญต่อการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
เพราะประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการด�ารงชีวิตของทั้งจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เชื้อสาเหตุโรค และพืช การใช้
จุลินทรีย์ปฏิปักษ์โดยไม่ค�านึงถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง จะส่งผลต่อความส�าเร็จ
ของการควบคุมโรค เช่น การควบคุมโรคทางต้น หากไม่มีการเติมอินทรียวัตถุในดินลงไป ร่วมกับการใช้เชื้อโรค
จะท�าให้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไม่มีอาหาร และต้องใช้เวลานานในการปรับตัว หรือการพ่นเชื้อจุลินทรีย์ทางใบ
หรือล�าต้น ในช่วงอากาศร้อน ไม่มีความชื้น อาจส่งผลต่อการมีชีวิตรอดของเชื้อที่ผิวใบได้
60 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control