Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                            บทที่ 2
                                                  พื้นที่ศึกษา 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว




                          ส่วนบริเวณรอบ ๆ เกาะยังมีแหลมและชายหาดหลายแห่ง ได้แก่ หาดทุ่งหญ้าคา หาดบริเวณอ่าว

                   โต๊ะ เกรี้ยง แหลมจูโหย แหลมกะหมาด และแหลมโต๊ะชัย เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณแหลมจูโหยและหาด
                   ตูบซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปีจะมีนกทะเล

                   และนกชายเลนหายากเป็นจำนวนมากที่เดินทางอพยพหนีหนาวจากประเทศไซบีเรียมาอาศัยอยู่บริเวณ
                   พื้นที่ดังกล่าวมากถึง 108 ชนิด ได้แก่ นกกินเปี้ยว นกกวัก นกยางเขียว นกนางนวลแกลบเคราขาว และ

                   นกหัวโตขาดำ เป็นต้น นอกจากนั้น บริเวณตามพื้นที่ผิวทะเลและแหล่งหญ้าทะเลต่าง ๆ ภายในพื้นที่เกาะ
                   ลิบงยังพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และขนาดเล็กอาศัยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปูเสฉวน ดอกไม้ทะเล

                   กลุ่มหอยสองฝา ปูทหาร หอยจอบ ไส้เดือนทะเล ปลิงทะเล หอยชักตีน หอยขี้นก ปากกาทะเล เม่นทะเล
                   เม่นหัวใจ และเหรียญทะเล เป็นต้น

                          นอกจากนั้น ยังมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศอีกเป็น

                   จำนวนมาก ได้แก่ พันธุ์ปลา 49 วงศ์ 145 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 6 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 21 ชนิด
                   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด จึงส่งผลทำให้พื้นที่เกาะลิบงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงจน

                   ได้มีประกาศและจัดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำ
                   อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม - เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง - ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ

                   ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติหรือระหว่างประเทศ

                          เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ทางกายภาพของระบบนิเวศของเกาะลิบง พบว่า ความสัมพันธ์ของ

                   ระบบนิเวศภายในพื้นที่จะมีความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยจะเริ่มจากผืนแผ่นดินที่มีป่าบกและหาดทราย
                   ถัดลงมาเป็นป่าชายเลน ซึ่งถือเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญของระบบนิเวศชายฝั่ง รวมทั้งเป็นแนว

                   ป้องกันการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่ง เป็นแนวดักตะกอนจากชายฝั่งก่อนไหลลงสู่ทะเล ตลอดจนช่วย
                   ป้องกันไม่ให้แหล่งหญ้าทะเลที่อยู่ถัดไปมีโคลนหรือตะกอนไหลลงมาทับถม นอกจากนั้น แหล่งหญ้าทะเล

                   ยังเป็นแนวดักตะกอนอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะถึงแนวปะการัง ในทางกลับกันแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเล
                   ยังช่วยชะลอความเร็วของคลื่นและลมก่อนที่จะถึงแนวชายฝั่งหรือป่าชายเลนอีกด้วย

                          ผลการศึกษาและทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษาซึ่งครอบคลุม 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ใน 3

                   จังหวัด ได้แก่ 1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต 2) เกาะรอก จังหวัดกระบี่ 3) เกาะห้อง จังหวัดกระบี่ 4) อ่าว
                   มาหยา จังหวัดกระบี่ และ 5) เกาะลิบง จังหวัดตรัง ดังที่นำเสนอข้างต้นในบทนี้ได้แสดงให้เห็นถึงสภาพ

                   พื้นที่ทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ศึกษา รวมถึงสภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใน
                   จังหวัดนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่พึ่งพาการท่องเที่ยวหรือการผลิตภาคบริการสาขาที่พักแรมและบริการด้าน

                   อาหาร และเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะฐานทรัพยากรทางทะเล
                   และชายฝั่งที่สวยงาม กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ได้

                   จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังวิกฤติการณ์โควิด-19 สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไป
                   ซึ่งการลดลงของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวอาจจะส่งผลทำให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้นและนำมาสู่การฟื้นตัว

                   ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่



                                                                        สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  19
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48