Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                            บทที่ 3
                        สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19




                          ข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พบว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
                   ต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2562 มีผู้เยี่ยมเยือนที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยว (Tourist) และ

                   นักทัศนาจร (Excursionist) รวมจำนวน 14,576,466 คน แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 3,977,545 คน
                   และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 10,598,921 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2561 พบว่า ผู้เยี่ยมเยือนที่มา

                   ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตขยายตัวร้อยละ 1.16 จากการเพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติเป็นหลัก
                   ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2563 มีผู้เยี่ยมเยือนที่มาท่องเที่ยวภายในจังหวัด รวมจำนวน 4,003,176 คน แบ่งเป็น
                   ผู้เยี่ยมเยือนคนไทย 1,892,436 คน และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 2,110,740 คน เมื่อเปรียบเทียบปี พ.ศ.

                   2562 พบว่า ผู้เยี่ยมเยือนที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตลดลงร้อยละ 72.54 จากการลดลงของผู้เยี่ยมเยือน
                   ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด-19 และมีการล็อกดาวน์

                   ในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเทียบกับช่วงเวลา
                   เดียวกันของปี พ.ศ. 2562 (ดังตารางที่ 3.1)

                          ด้านรายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนในจังหวัดภูเก็ต มีมูลค่าเพียง 108,463.53 ล้านบาท

                   ลดลงร้อยละ 75.51 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2562 ตามการลดลงของจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่เดินทางท่องเที่ยว
                   ภายในจังหวัดโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติเป็นหลัก

                   ทั้งนี้ มีผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติที่ยังคงอยู่ช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายนเป็นชาวต่างชาติที่เดิน
                   ทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ก่อนการปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองและพำนักในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมผู้ที่

                   วางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ตามแผนการเดินทาง ซึ่งไม่รวม
                   ชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีค่าใช้จ่ายด้านการ
                   ท่องเที่ยวต่ำกว่าช่วงเวลาปกติ แต่มีระยะเวลาพำนักยาวนานประมาณ 15 - 30 วัน จึงมีผลทำให้ค่าใช้จ่าย

                   ต่อทริปเพิ่มสูงกว่าช่วงเวลาปกติมาก และตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
                   เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น

                          ส่วนสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต การศึกษานี้ได้ประมาณการ

                   จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวหาดป่าตองโดยอ้างอิงข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยว (ผู้เยี่ยมเยือนที่รวม
                   นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ) ของจังหวัดภูเก็ตรายเดือนในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2563 ของกระทรวง

                   การท่องเที่ยวและกีฬา โดยการใช้สัดส่วนของจำนวนห้องพักที่มีอยู่ในหาดป่าตองต่อจำนวนห้องพัก
                   ทั้งหมดที่มีอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 - 40 ของจำนวนห้องพักทั้งหมด  การศึกษานี้
                                                                                               1
                   ใช้เฉลี่ยสัดส่วนห้องพักที่มีอยู่ในหาดป่าตอง เท่ากับร้อยละ 35 ของจำนวนห้องพักทั้งหมด ในการประมาณ
                   การจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหาดป่าตอง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาหาดป่าตองมากกว่า 4 แสนคน
                   ต่อเดือน ดังแสดงในตารางที่ 3.2







                   1  ข้อมูลสัดส่วนจำนวนห้องพักที่ป่าตองต่อจำนวนห้องพักทั้งหมดที่ภูเก็ต อ้างอิงจากความคิดเห็นของนายกสมาคมธุรกิจ
                    การท่องเที่ยวภูเก็ต



                                                                       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  23
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52