Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
เป็นช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 หรือในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็มีนักท่องเที่ยวลดลงและค่อนข้าง
สงบ (ดังรูปที่ 2.15 และรูปที่ 2.16)
รูปที่ 2.15 สภาพพื้นที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19
ที่มา: Tawanyimchang และ Phuketferry (2016)
รูปที่ 2.16 สภาพพื้นที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ที่มา: คณะผู้วิจัย (2563)
เกาะลิบงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศที่อุดมสมบรูณ์
อย่างมากทั้งทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรบนบก ได้แก่ แหล่งปะการัง แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน
สังคมเสม็ดขาว ป่าชายหาด และป่าบก สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนมีอยู่เป็นจำนวนมากตามแนวชายฝั่งทะเล
หรือชายหาดที่มีการสะสมของดินเลนโดยเฉพาะริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเกาะบริเวณพื้นที่หมู่ที่ 1
บ้านโคกสะท้อน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง (แหลมจูโหย) พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่
ตีนเป็ด โปรงขาว โปรงแดง แสมทะเล แสมดำ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก หลุมพอทะเล ทะเลถั่วขาว
ตะบูน ฝาดขาว ฝาดแดง พังกาหัวสุม เป็นต้น และเป็นแหล่งอาศัยเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิดและ
สัตว์ป่าจำพวกอื่น ๆ เช่น นกแต้วแล้วป่า โกงกาง นกโกงกางหัวโต ลิงแสม และตะกวด เป็นต้น ส่วนพื้นที่
ป่าชายหาด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ปอทะเล และเตยทะเล พบได้บริเวณแคบ ๆ ในพื้นที่ป่าเกาะลิบง
18 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย