Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศไม่อนุญาตให้ประกอบ
กิจกรรมท่องเที่ยวหรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในบริเวณพื้นที่อ่าวมาหยาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
เป็นต้นมา เพื่อทำการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ จึงไม่สามารถ
ท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมหน้าชายหาดและกิจกรรมว่ายน้ำได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปจอดเรือเพื่อชม
ความสวยงามหรือถ่ายรูปบริเวณด้านนอกซึ่งมีแนวทุ่นที่ทางอุทยานจัดเตรียมไว้เท่านั้น ดังรูปที่ 2.10
รูปที่ 2.10 บริเวณอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ที่มา: คณะผู้วิจัย (2563)
2.2.4 เกาะรอก จังหวัดกระบี่
1
เกาะรอก ได้รับการประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาซึ่งตั้งอยู่ในเขต
ท้องที่ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เกาะรอกประกอบด้วย 2 เกาะ คือ เกาะรอก
ในและเกาะรอกนอก (ดังรูปที่ 2.11) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านนอกของทะเลอันดามันอยู่ห่างจากที่ทำการ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ประมาณ 27 กิโลเมตร เกาะรอกในเป็นแหล่งดำน้ำตื้นและแหล่งดำน้ำลึก
มีภูมิประเทศทั่วไปเป็นหินผาสูงชันมีโขดหินที่ถูกกัดกร่อนมาเป็นเวลานานอยู่ทางทิศเหนือ ด้านที่หันสู่
ทิศตะวันตกเป็นหน้าผาทอดยาว ด้านหน้าของเกาะมีความยาวประมาณ 2.4 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด
ประมาณ 208 เมตรจากระดับน้ำทะเล (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา, 2564)
1 เดิมได้เลือกพื้นที่อ่าวหินงาม เกาะรอก เป็นพื้นที่ศึกษา แต่เนื่องจากอ่าวหินงามเป็นเพียงบริเวณเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้
ของเกาะรอกใน คณะผู้วิจัยจึงใช้พื้นที่เกาะรอกทั้งหมดเป็นพื้นที่ศึกษา
14 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย