Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2
พื้นที่ศึกษา 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
การศึกษานี้เลือกพื้นที่กรณีศึกษาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก เป็นพื้นที่ที่มี
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และ ประการที่สอง พื้นที่
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงสำคัญของประเทศไทย ซึ่งพบว่า มีสถานที่ท่องเที่ยวในหลายจังหวัดทาง
ชายฝั่งทะเลอันดามัน อย่างเช่น กระบี่ และภูเก็ต ที่มีทรัพยากรทางทะเลฟื้นตัวมากขึ้น โดยเฉพาะจังหวัด
กระบี่ที่พบสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ มีปริมาณมากขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณเกาะรอก หมู่เกาะห้อง และอ่าว
มาหยา พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีน้ำทะเลใส มีหาดทรายสวยงามและเป็นแหล่งดำน้ำดู
ปะการัง จึงกลายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งผลทำให้ในแต่ละปีมีจำนวน
นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนจังหวัดกระบี่เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก และสร้างรายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับประเทศเป็น
อย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดี คือเกาะลิบง จังหวัดตรัง
ซึ่งเป็นพื้นที่ประมงชายฝั่งมาอย่างยาวนาน และยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์มากที่สุดและมีฝูงพะยูนที่
ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กลายเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีคุณค่าและเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้คนทั่วไป
ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยือนและเข้าพักในจังหวัดตรังมากกว่าล้านคนต่อปี
ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้เลือกพื้นที่กรณีศึกษา ครอบคลุม 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ใน 3 จังหวัด
ได้แก่ 1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต 2) เกาะรอก จังหวัดกระบี่ 3) เกาะห้อง จังหวัดกระบี่ 4) อ่าวมาหยา
จังหวัดกระบี่ และ 5) เกาะลิบง จังหวัดตรัง (ดังรูปที่ 2.1) โดยเนื้อหาในส่วนนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนแรก สภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในจังหวัดนั้น ๆ และส่วนที่สอง รายละเอียดทั่วไปของ
พื้นที่ศึกษา
5