Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                            บทที่ 1
                                                            บทนำ




                          ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษานี้คือความชัดเจนด้านความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการ

                   ท่องเที่ยวและความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การเฟ้นหามาตรการด้านการท่องเที่ยวที่มี
                   ความเป็นไปได้ทั้งในเชิงกฎหมายและการยอมรับของสังคม และรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร

                   ทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนและการสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวจากฐานทรัพยากรทางทะเลและ
                   ชายฝั่งอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้น การศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐที่จะทราบ

                   มาตรการการควบคุมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทางทะเลที่เหมาะสม หน่วยงานภาครัฐที่จะได้ประโยชน์
                   จากการมีมาตรการการควบคุมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

                   กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กร
                   ปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนในภาคเอกชนธุรกิจการท่องเที่ยวต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนา

                   ศักยภาพทรัพยากรทางทะเลเพราะจะสามารถดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเลได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
                   นอกจากนั้น ประชนชนในพื้นที่ชายฝั่งยังสามารถประกอบอาชีพที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรทางทะเลและ

                   ชายฝั่งได้อย่างยั่งยืนด้วย

                          ดังนั้น การศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งใน
                   ช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และเพื่อศึกษาขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยว (Carrying

                   Capacity) และความพร้อมของสาขาการท่องเที่ยวในการปรับแนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทาง
                   ทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน รวมถึงเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและ

                   ชายฝั่งและด้านการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาครอบคลุม 5 พื้นที่
                   แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ 1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต  2) เกาะรอก จังหวัดกระบี่ 3) เกาะห้อง จังหวัดกระบี่

                   4) อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ และ 5) เกาะลิบง จังหวัดตรัง

                   1.2    วิธีการศึกษา

                           1)  ศึกษาเชิงพรรณาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ปริมาณขยะและน้ำเสีย

                              คุณภาพน้ำทะเล และการเปลี่ยนแปลงจำนวนและคุณภาพทรัพยากรทางทะล

                           2)  ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพ (Physical Carrying
                              Capacity: PCC) ขีดความสามารถในการรองรับที่แท้จริง (Real Carrying Capacity: RCC)

                              และขีดความสามารถในการรองรับด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Carrying
                              Capacity: FCC) เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการด้านการท่องเที่ยวที่เหมาะสม


                           3)  ข้อเสนอด้านมาตรการการท่องเที่ยวใช้วิธีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
                              (In-depth Interview) ใน 2 มิติ คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2) ความเป็นไปได้ในการ

                              นำมาตรการมาใช้ภายใต้มิติด้านกฎหมาย ด้านเชิงกายภาพ ด้านการยอมรับของสังคม และ
                              ด้านความสมัครใจของผู้ประกอบการ







                                                                        สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  3
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32