Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
บทนำ
1.1 หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นทุนทางธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและ
ความเป็นอยู่ของคนไทย ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การ
ทำประมง การทำการเกษตรชายฝั่ง การท่องเที่ยว และการเดินเรือ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น
ป่าชายเลนหรือปะการังยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ตัวอ่อนเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์และสร้างความ
หลากหลายทางธรรมชาติ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลเป็น
อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำประมงเกินขนาด การทิ้งขยะและการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเลโดยไม่มีการ
บำบัดอย่างถูกต้อง หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ล้วนส่งผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่ง
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการควบคุมกิจการทางการประมงตามเงื่อนไข IUU Fishing
1
(Illegal Unreported and Unregulated Fishing) หรือการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ทำให้มีการกำกับ
การทำประมงเกินขนาดซึ่งส่งผลทำให้ทรัพยากรประมงสามารถฟื้นตัวคืนได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วง
วิกฤติการณ์โควิด-19 ที่ประเทศไทยมีการออกมาตรการเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เช่น
การห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ การห้ามการเดินทางข้ามจังหวัด การปิดอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
รวมทั้งอุทยานแห่งชาติทางทะเล และการห้ามให้บริการธุรกิจอาหารและธุรกิจการโรงแรมจึงส่งผลทำให้
ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยต้องหยุดชะงักลง ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ถึงแม้มาตรการ
เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต้อง
หยุดชะงักลงโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและส่งผลทางลบต่อการหารายได้และธุรกิจการ
ท่องเที่ยวอย่างมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับการหยุดชะงักของกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล
คือการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดังตัวอย่างที่ปรากฎในภาพสื่อต่าง ๆ
ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา พบว่าในหลาย ๆ พื้นที่ทั้งพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
และชายฝั่งทะเลอันดามันมีรายงานการฟื้นฟูของธรรมชาติและการพบสัตว์ทะเลที่หาพบยากในปริมาณที่
1 กฎระเบียบของสหภาพยุโรปให้ความหมายของการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Unregulated fishing หรือ IUU
Fishing) ไว้คือ Illegal fishing เป็นกรณีทําการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและ
กฎหมายที่กําหนดขึ้น หรือฝ่าฝืนพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการประมง รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงร่วมมือทางประมงในภูมิภาคด้วย
Unreported fishing เป็นกรณีทําการประมงแล้วไม่ได้รายงานหรือรายงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ต่อ
หน่วยงานที่ดูแลการประมงแห่งชาติหรือองค์กรบริหารจัดการการประมงในภูมิภาคแล้วแต่กรณี Unregulated fishing เป็นกรณีทําการ
ประมงในเขตพื้นที่ต่าง ๆ โดยเรือไม่ปรากฎสัญชาติหรือเรือที่ไม่ติดธงของประเทศ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กําหนดขึ้น รวมถึงการทํา
ประมงในบริเวณสงวนที่มีการกําหนดมาตรการอนุรักษ์ไว้ (กรมประมง, 2560)
1