Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
มากขึ้น เช่น การฟื้นตัวของหาดทรายบริเวณหาดป่าตองและคุณภาพน้ำทะเลที่ใสสะอาดขึ้นเป็นสีคราม
การพบเห็นปริมาณพะยูนเพิ่มขึ้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดระยองบริเวณบ้านเพ ที่เกาะสมุยพบเต่าตนุบ่อยขึ้น
จังหวัดกระบี่มีการรายงานว่าพบฝูงวาฬเพชฒฆาตดำ พบฝูงฉลามหูดำมากขึ้น และจังหวัดพังงามีรายงาน
การพบโลมาปากขวดและเต่ามะเฟือง
ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นผลบวกของการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่อทุนทางทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่งของไทยคือ การฟื้นตัวของสัตว์น้ำซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการจำกัดกิจกรรมการ
ทำประมงซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการตามเงื่อนไข IUU Fishing แต่ที่สำคัญคือ ทรัพยากรทาง
ทะเลที่พบเห็นมากขึ้นน่าจะเป็นผลมาจากการลดลงของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลทั้งทางด้านการ
ลดการปล่อยน้ำเสียและของเสียลงสู่ทะเล และการลดลงของกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การเดินเรือ เป็นต้น
ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทยสามารถฟื้นตัวได้เป็นอย่าง
ดีหากมีการควบคุมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวไม่ให้เกินขีดความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ
(Carrying Capacity) การที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสามารถฟื้นตัวได้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า
ประเทศไทยยังมีศักยภาพในการพัฒนาทุนทางธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์และเป็นแหล่งรายได้
ให้กับประเทศไทยได้หากมีการบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและภายใต้ขีดความ
สามารถในการรองรับของธรรมชาติ
การบริหารจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับและรูปแบบที่เหมาะสมจึงเป็นเงื่อนไข
สำคัญในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ถึงแม้
การควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวจะส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวทางทะเลลดลงบ้างในระยะสั้น
แต่การดำเนินมาตรการการควบคุมปริมาณและลักษณะของการท่องเที่ยวทางทะเลที่เหมาะสมจะส่งผลทำ
ให้ประเทศไทยสามารถพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวทางทะเลไปสู่การท่องเที่ยวที่เน้นการสร้างมูลค่า
มากกว่าปริมาณ และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศในระยะยาวต่อไป ดังนั้น การศึกษาความพร้อม
ของภาคการท่องเที่ยวและการจัดทำข้อเสนอมาตรการการควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลที่
เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากขาดการดำเนินมาตรการการกำกับ
ควบคุมปริมาณและรูปแบบการท่องเที่ยวทางทะเลก็จะส่งผลทำให้ทุนทางธรรมชาติของประเทศไทยต้อง
เผชิญกับความสูญเสียเหมือนกับที่เกิดขึ้นในอดีต
ประเด็นปัญหาวิจัยสำหรับการศึกษานี้คือ 1) การลดลงของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวส่งผล
อย่างไรต่อคุณภาพน้ำทะเลและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (Quantifying the level of marine and
coastal resource regeneration) 2) ภาครัฐจะสามารถประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร
ในการดำเนินมาตรการควบคุมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทางทะเลให้เหมาะสมกับขีดความสามารถในการ
รองรับของธรรมชาติและรักษาคุณภาพทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อมให้เป็นทุนทางธรรมชาติที่จะคง
สร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน
2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย