Page 75 -
P. 75
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
71
สำหรับการส่งผ่านจากราคาส่งออกไปยังราคาข้าวสารในตลาดข้าวหอมมะลินั้น ถึงแม้ว่าขนาดของการ
ส่งผ่านในระยะยาวจะไม่สมบูรณ์ แต่มีความสมมาตรในด้านขนาดของผลกระทบและความเร็วในการปรับตัว การ
เปลี่ยนแปลงของราคาส่งออกข้าวหอมมะลิในอัตราร้อยละ 1 จะทำให้ราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันร้อยละ 0.4871 โดยใช้เวลาในการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวประมาณ 8 เดือน
6.2.4 การส่งผ่านราคาในตลาดข้าวหอม
กการวิเคราะห์การส่งผ่านราคาในตลาดข้าวหอมจะใช้ข้อมูลราคาส่งออกข้าวหอมปทุมธานี ราคาข้าวสาร
ปทุมธานี 100% และ ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี โดยวิเคราะห์แยกออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) การส่งผ่านราคาจาก
ข้าวสารภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือก และ 2) การส่งผ่านจากราคาส่งออกไปยังราคาข้าวสาร
ภายในประเทศ การทดสอบทางสถิติบ่งชี้ว่าสมการส่งผ่านราคาที่มีความเหมาะสมในทั้งสองระดับ คือ แบบจำลอง
ที่ 1 ซึ่งเป็นแบบจำลอง ECM ปกติ ซึ่งมีความสมมาตรทั้งในด้านการปรับตัวเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพและผลกระทบ
ในระยะยาว ผลการประมาณค่าสมการการส่งผ่านจากราคาข้าวสารภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือกแสดงใน
ตารางที่ 6.9 รูปแบบสมการที่ใช้คือแบบจำลองที่ 1 โดยมีตัวแปรตามคืออัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวเปลือก
ปทุมธานีในเดือนปัจจุบัน ( p paddy,t ) ในขณะที่ตัวแปรอิสระประกอบด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวเปลือก
ปทุมธานีย้อนอดีตหนึ่งเดือน ( p paddy,t-1 ) และอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวสารปทุมธานีภายในประเทศในเดือน
ปัจจุบัน ( p rice,t ) สุดท้ายคือความแตกต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกปทุมธานีในเดือนที่แล้วกับราคาดุลยภาพใน
ระยะยาว ( ECT paddy,t-1 ) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การปรับตัวเท่ากับ -0.1217
ตารางที่ 6.9 ผลการประมาณค่าการส่งผ่านราคาข้าวสารหอมภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือกหอมปทุมธานี
ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์ S.E.
ค่าคงที่ -0.0001 (0.0014)
p paddy,t-1 0.1573** (0.0697)
p rice,t 0.6295*** (0.0819)
ECT paddy,t-1 -0.1217*** (0.0330)
ความยืดหยุ่นระยะยาว 0.7471
R 0.4385
2
F-statistic 36.3203***
D-W 2.0075
หมายเหตุ: , และ แสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 10, 5 และ 1 ตามลำดับ
* **
***