Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
70
รูปที่ 6.6 การปรับตัวของราคาข้าวหอมมะลิภายในประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาส่งออกข้าวหอมมะลิ
ร้อยละ
1.00
0.75
0.50
0.25
0.00
-0.25
-0.50
-0.75
-1.00
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 เดือน
หมายเหตุ: 1. สัญลักษณ์ • แสดงการปรับตัวของราคาข้าวหอมมะลิในประเทศเมื่อราคาส่งออกข้าวหอมมะลิสูงขึ้นร้อยละ 1
2. สัญลักษณ์ ∎ แสดงการปรับตัวของราคาข้าวหอมมะลิในประเทศเมื่อราคาส่งออกข้าวหอมมะลิลดลงร้อยละ 1
กล่าวโดยสรุป กลไกการส่งผ่านราคาระหว่างราคาข้าวเปลือกและราคาข้าวสารในตลาดข้าวหอมมะลิมี
ความไม่สมมาตรในด้านความเร็วในการปรับตัว กล่าวคือเมื่อราคาข้าวสารหอมมะลิสูงขึ้นจะทำให้ราคาข้าวเปลือก
หอมมะลิความผันผวนมากกว่าและปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวช้ากว่ากรณีราคาข้าวสารหอมมะลิปรับลดลง
อาจเนื่องจากเมื่อข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพันธุ์ไวแสงส่วนใหญ่ปลูกได้แต่เฉพาะนาปีในพื้นที่ภาคอีสาน ทำให้โรงสีข้าว
ไม่สามารถเก็บสต๊อกปริมาณข้าวหอมมะลิได้มากเหมือนกับข้าวขาวทั่วไป เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดข้าวสาร
หอมมะลิ โรงสีข้าวก็จะเร่งซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากชาวนาทำให้ราคาข้าวเปลือกมีสูงขึ้นอย่างมากและมีความผัน
ผวนมากในระยะสั้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีข้าวสารหอมมะลิปรับราคาลดลง โรงสีข้าวจะไม่สามารถปรับลด
ปริมาณรับซื้อและราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกรลงได้มาก เพราะจำเป็นต้องซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิ
เก็บเป็นสต๊อกเพื่อทยอยแปรรูปออกขายตลอดทั้งปี ทำให้การปรับตัวลดลงของราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมีขนาด
การปรับตัวและความผันผวนในระยะสั้นน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวสารหอม
มะลิต่อราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในระยะยาวนั้นไม่แตกต่างกัน โดยการส่งผ่านจากราคาข้าวสารหอมมะลิไปยัง
ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมีความไม่สมบูรณ์ กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวสารหอมมะลิในอัตราร้อยละ 1 จะ
ทำให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันเพียงแค่ร้อยละ 0.6536 ในระยะยาว