Page 70 -
P. 70

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           66


               6.2.3 การส่งผ่านราคาในตลาดข้าวหอมมะลิ

                       การวิเคราะห์การส่งผ่านราคาในตลาดข้าวหอมมะลิจะแยกออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) การส่งผ่านราคาจาก
               ข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และ 2) การส่งผ่านจากราคาส่งออกข้าวหอมมะลิ

               ไปยังราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศ การทดสอบทางสถิติบ่งชี้ว่าสมการส่งผ่านราคาที่มีความเหมาะสม คือ

               แบบจำลองที่ 2 สำหรับการส่งผ่านราคาจากราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ
               กล่าวคือราคาข้าวเปลือกหอมมะลิจะมีความเร็วในการปรับตัวเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพไม่เท่ากันระหว่างในช่วงราคา

               ขาขึ้นกับราคาขาลง แต่มีผลกระทบในระยะยาวจะไม่แตกต่างกัน สำหรับกรณีการส่งผ่านจากราคาส่งออกข้าวหอม

               มะลิไปยังราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศ จะเลือกใช้แบบจำลองที่ 1 ซึ่งเป็นแบบจำลอง ECM ปกติ ซึ่งมี
               ความสมมาตรทั้งในด้านการปรับตัวเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพและผลกระทบในระยะยาว

                       ผลการประมาณค่าสมการการส่งผ่านจากราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือก

               แสดงในตารางที่ 6.7 รูปแบบสมการที่ใช้คือแบบจำลองที่ 2 โดยมีตัวแปรตามคืออัตราการเปลี่ยนแปลงราคา

                                                
               ข้าวเปลือกหอมมะลิในเดือนปัจจุบัน ( p paddy,t ) ในขณะที่ตัวแปรอิสระประกอบด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงราคา
                                                                            
                                                               
               ข้าวเปลือกหอมมะลิย้อนอดีตหนึ่งเดือนและสองเดือน ( p paddy,t-1 และ  p paddy,t-2 ) และอัตราการเปลี่ยนแปลง
                                                                                            
                                                                                 
               ราคาข้าวสารหอมมะลิภายในประเทศในเดือนปัจจุบันและหนึ่งเดือนก่อนหน้า ( p rice,t   และ  p rice,t-1 ) สุดท้ายคือ
               ความแตกต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในเดือนที่แล้วกับราคาดุลยภาพในระยะยาวกรณีที่ราคาข้าวเปลือก
                                                                  +
                                                                                 -
               หอมมะลิอยู่สูงกว่าและต่ำกว่าราคาดุลยภาพระยะยาว ( ECT paddy,t-1  และ  ECT paddy,t-1 ) ตามลำดับ
                       สมการการส่งผ่านจากราคาข้าวสารไปยังราคาข้าวเปลือกในตลาดข้าวหอมมะลิมีความไม่สมมาตรในด้าน
               ความเร็วในการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ ค่าสัมประสิทธิ์การปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพที่ไม่สมมาตร คือ 0.0889

               สำหรับกรณีราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพระยะยาว แต่ค่าสัมประสิทธิ์นี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

               ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การปรับตัวกรณีราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพระยะยาว คือ -0.4194
               และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 แสดงว่าเมื่อราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ต่ำกว่าดุลยภาพ

               ระยะยาวจะมีการปรับตัวเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพได้รวดเร็วกว่ากรณีที่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่สูงกว่าดุลยภาพ

               ระยะยาว
                       อย่างไรก็ตามค่าความยืดหยุ่นระยะยาวของราคาข้าวเปลือกหอมมะลิต่อราคาข้าวสารหอมมะลิ

               ภายในประเทศไม่ได้แตกต่างกันระหว่างกรณีราคาข้าวสารหอมมะลิปรับขึ้นและกรณีราคาข้าวสารหอมมะลิปรับ

               ลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาข้าวสารหอมมะลิร้อยละ 1 จะทำให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเปลี่ยนแปลง
               ไปในอัตราร้อยละ 0.6536 ในทิศทางเดียวกัน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75