Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
28
เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้พบว่ายังมีการผลิตที่
มากกว่าปริมาณการใช้ โดยมีการผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาในประเทศอยู่ที่ 1,626,917 ขวดต่อซอง และมีการ
กระจายผลิตภัณฑ์กัญชาไปตามโรงพยาบาลและคลินิกกัญชาต่าง ๆ ที่ 1,082,206 ขวดต่อซอง แต่มีการสั่ง
จ่ายยากัญชาให้ผู้ป่วยเพียง 457,872 ขวดต่อซอง ทั้งนี้เนื่องจากแพทย์หลายท่านยังไม่มีความมั่นใจใน
ประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในการรักษาผู้ป่วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ก. การสกัดและแปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ผลิตในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้
เป็น 2 ประเภท ได้แก่ น้ ามันกัญชาที่เป็นยาต ารับปัจจุบัน และยาต ารับแผนไทย โดยน้ ามันกัญชาที่ยาเป็น
ต ารับปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ทั้งหมด 3 รายได้แก่ 1) องค์การเภสัชกรรม 2) โรงพยาบาลพระยาอภัยภูเบศร
และ 3) กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีปริมาณ
การผลิตรวม 70,994 ขวด (ตารางที่ 2.4) ส าหรับยาต ารับไทยมีข้อมูลของผู้ผลิตอยู่ทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่
1) โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร 2) กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก 3) โรงพยาบาลพระยาอภัยภูเบศร 4) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ซึ่งมี
ปริมาณการผลิตยาต ารับไทยจากกัญชาทั้งสิ้น 1,555,923 ขวดต่อซอง โดยแบ่งเป็นน้ ามันกัญชาต ารับหมอ
เดชา 410,300 ขวด และยาต ารับแผนไทย 1,145,623 ซองต่อขวด (ตารางที่ 2.5)
ตารางที่ 2.4 ปริมาณการผลิตยากัญชาต ารับแผนปัจจุบัน
ผู้ผลิต ต ำรับ ปริมำณ
กำร
ผลิต
(ขวด)
องค์การเภสัชกรรม GPO THC (13 mg/ml; ขวดละ 5 ml) 9,779
GPO THC:CBD (1:1) (27 mg/ml : 25 mg/ml) 6,544
GPO CBD (13 mg/ml; ขวดละ 10 ml) 1,227
โรงพยาบาลพระยาอภัยภูเบศร น้ ามันกัญชาหยดใต้ลิ้น (THC 17 mg/ml; ขวดละ 5 ml) 52,974
กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมการ DTAM KARUN OSOT (ขวดละ 10 ml) 160
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก DTAM METTA OSOT (ขวดละ 10 ml) 310
รวม 70,994
ที่มา: คณะกรรมการการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ (2563)