Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               2.2.4 การปรับแตงขอมูลและวิเคราะหขอมูล (Data Manipulation and Analysis)


               การปรับแตงขอมูล หมายถึงการดําเนินการขอมูลเพื่อดัดแปลงขอมูลตาง ๆ หลังจากปรับแตงขอมูล

               เสร็จแลวก็จะสามารถทําการวิเคราะหขอมูลตอไปได ดังนั้นในขั้นตอนนี้เปนขั้นตอนที่เกี่ยวของกับการ

               สรางชั้นขอมูลใหม จากขอมูลที่เรานําเขา ซึ่งขั้นตอนนี้เปนองคประกอบที่สําคัญหนึ่งองคประกอบของ

               ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร Anji Reddy  (2008 ) ไดกลาวถึงตัวอยางกระบวนการการดัดแปลงและ
               วิเคราะหขอมูลดังนี้

                              - การจัดประเภทและการรวมกลุมขอมูล

                              - การดําเนินการทางเรขาคณิต เปนกระบวนการที่เกี่ยวของกับหมุน การเลื่อนที่ การ
               ยอขยาย การตรึงภาพ และการลงทะเบียนเพื่อใสพิกัดขอมูล

                              - การกําหนดควบคุมขอมูล

                              - การแปลงโครงสรางขอมูล
                              - การดําเนินการเชิงพื้นที่ของความเชื่อมตอและพื้นที่โดยรอบของวัตถุ

                              - การวัดระยะและทิศทาง

                              - การวิเคราะหทางสถิติ เปนกระบวนการที่เกี่ยวของกับสถิติเชิงเชิงพรรณนา และการ
               อนุมาน เชน  การสรุปคาเฉลี่ย คาสูงสุด คาต่ําสุด การวิเคราะหการถดถอย  การหาคาความสัมพันธ

               และการใชลักษณะตารางไขว

                              - การพัฒนาแบบจําลองเชิงพื้นที่

               จะเห็นไดวากระบวนการตาง ๆ ดังกลาวมานี้ตองอาศัยเทคนิคทางคณิตศาสตรที่มีอยูทั่วไปกระทํากับ
               ขอมูลแบบดิจิตอล  ที่ไดนําเขามายังระบบสารสนเทศภูมิศาสตร ซึ่งผูใชงานตองเขาใจทฤษฏีทาง

               คณิตศาสตรอยางถองแทถึงจะทําใหการประยุกตเพื่อดัดแปลง สังเคราะหและวิเคราะหขอมูลออกมา

               ไดอยางถูกตองจึงจะทําใหไดชั้นขอมูลใหมที่ถูกตองแมนยําและเชื่อถือได เนื้อหาในการจัดเตรียมขอมูล
               นี้จะไดกลาวโดยละเอียดใน บทที่ 7 เรื่องการปรับแตงขอมูลและการวิเคราะหขอมูลเชิงพื้นที่

               (Manipulation and Spatial Data Analysis) ตอไป


               2.2.5 การผลิตแสดงผลลัพธตาง ๆ (Product Generation)



               ขั้นตอนนี้เปนขั้นตอนสุดทายของของกระบวนการดําเนินงานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร การสราง
               ผลลัพธหรือการผลิตเพื่อแสดงผลลัพธเปนกระบวนการที่ประกอบไปดวย การรายงานผลการวิเคราะห

               ทางสถิติ การสรางแผนที่ การสรางกราฟกในรูปแบบตาง ๆ ไมวาจะอยูในรูปของผลิตภัณฑในรูปไฟล

               หรือจัดพิมพบนกระดาษ ซึ่งสามารถนําเสนอดวยภาพทางจอภาพหรือพิมพออกมาเปนโปสเตอรก็ตาม




                                                          -28-
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42