Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                 Theories of Marital and Family Therapy
            60



                2)  สมยอม (Placating)
                    เป็นการซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่า และความเปราะบาง โดยการท าให้ผู้อื่นยอมรับและพึงพอใจ

            ผู้สมยอมมักท่าทีขอความเมตตา ขอโทษขอโพย การสื่อสารเป็นไปเพื่อเอาใจผู้อื่น ไม่กล้าปฏิเสธ
            หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและใช้พลังงานอย่างมากในการรักษาความสงบในครอบครัว

            ซึ่งอาจกลายเป็นการปิดกั้นการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาระหว่างสมาชิก ตัวอย่างเช่น แม่มักพยายาม
            เข้ามาแก้ไขความขัดแย้งระหว่างระหว่างพ่อและลูกชายวัยรุ่นอยู่เสมอ การกระท าของแม่ท าให้พ่อและ
                                              ั
            ลูกชายไม่ได้จัดการและท าความเข้าใจปญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกันด้วยตนเอง และปิดกั้นการสื่อสาร
            ระหว่างพ่อและลูกชาย



                3)  ใช้เหตุผล (Being super-reasonable)
                    เป็นการซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่า และความเปราะบาง โดยการวิเคราะห์และแยกตนเองออก
            จากความรู้สึกที่แท้จริง  ผู้ใช้เหตุผลสื่อสารกับครอบครัวด้วยการอ้างความรู้ ใช้เหตุใช้ผลอย่างมาก
            (overly rational) โดยเฉพาะเมื่อเกิดความขัดแย้ง และมองข้ามความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายใน จะพบการ

            แสดงภาษาท่าทางในลักษณะทีไม่มีส่วนร่วม  ผู้ใช้เหตุผลมองว่าอารมณ์ภายในเป็นความเปราะบาง
            จึงหลีกเลี่ยงและปฏิเสธการแสดงอารมณ์ภายในทั้งของตนเองและสมาชิกคนอื่น โดยสิ้นเชิง ท าให้

            เป็นอุปสรรคในการสื่อสารอย่างซื่อสัตย์เปิดเผย
                    ตัวอย่างเช่น ครอบครัวซึ่งไม่ค่อยมีการสื่อสารทางบวก และการขัดแย้งที่ชัดเจน  สมาชิก
            วัยรุ่นชายซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่าในตนเอง ดูถูกสมาชิกคนอื่นๆ  เมื่อครอบครัวพยายามสร้างความ

            ร่วมมือ เขาตอบสนองด้วยการเมินเฉย


                4)  เฉไฉ ไม่อยู่กับร่องกับรอย (Being irrelevant)
                    เป็นการซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่า และความเปราะบาง โดยท าเสมือนว่าไม่มีความขัดแย้ง การ

            สื่อสารมีลักษณะ เบี่ยงประเด็น วกวน เฉไฉ เปลี่ยนเรื่องเพื่อเบี่ยงความสนใจ (จากความขัดแย้ง และ
            ความรู้สึกภายใน)  ท าให้การสื่อสารในครอบครัวไม่จบสมบูรณ์ ไม่เกิดการเรียนรู้ท าความเข้าใจ
              ั
            ปญหา
                    ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงวัยรุ่นในครอบครัวผู้ชายเป็นใหญ่ เธอรู้สึกเป็นคนนอก ไม่มีพวกพ้อง

            แม้กระทั่งกับผู้เป็นแม่ (ซึ่งเป็นผู้สมยอม) เด็กหญิงตอบสนองต่อความขัดแย้งในครอบครัวโดยการพูด
            เรื่องตลกไร้สาระ เหน็บแนบ ในขณะที่สมาชิกในครอบครัวทะเลาะกัน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71