Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
59
[1] Interpersonal Dimension
Interpersonal Dimension คือ ส่วนที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนภายนอก นั่นก็คือ พฤติกรรม
รูปแบบการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การปรับตัว
Satir มองว่า ระบบครอบครัวที่มีความสมดุล (functional families) จะมีลักษณะสอดคล้อง
ั
กลมกลืน ยืดหยุ่น ชัดเจน มีการสื่อสารที่ดี มีกฎ บทบาท และวิธีการรับมือต่อปญหา อย่างเหมาะสม
ในทางกลับกัน ครอบครัวที่ท าหน้าที่ไม่เหมาะสม (Dysfunctional Family) ขาดทักษะการ
สื่อสารที่ดี กฎของครอบครัวมีลักษณะยึดติด ไม่ยืดหยุ่น ปราศจากเหตุผล และไม่คงเส้นคงวา ท าให้
พัฒนารูปแบบการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม และกฎของครอบครัวยังส่งเสริมให้รูปแบบการปรับตัวทีไม่
เหมาะสมนั้นด าเนินต่อไปเรื่อยๆ
Survival Communication Stances หรือ Coping stance
ั
Stances เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม เป็นการพยายามปรับตัวรับมือกับปญหา
เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ โดยเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาเพื่อซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่า
และความเปราะบางภายใน (Peoplemaking, 1972)
ในครอบครัวที่มีการท าหน้าที่ไม่เหมาะสม สมาชิกในครอบครัวก็มีการปรับตัวโดยใช้ Stances
แสดงบทบาทต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน สมาชิกในครอบครัวอาจรับเอารูปแบบการสื่อสารอันใดอันหนึ่ง
มาใช้ ตามแต่บริบทของสถานการณ์
Satir อธิบายว่า Stances ไม่ใช่บุคลิกภาพ แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ จึงสามารถแก้ไข
โดยการจัดการเรียนรู้ใหม่ได้ (นงพงา, 2555)
Stances สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1) โทษผู้อื่น (Blaming)
เป็นการซ่อนความรู้สึกไร้คุณค่า และความเปราะบาง โดยการพยายามควบคุมผู้อื่น ผ่าน
การมองหาข้อผิดพลาด วิพากษ์วิจารณ์ และดูถูกผู้อื่น ซึ่งให้ความรู้สึกว่าตนเองมีความส าคัญ
ควบคุมสมาชิกคนอื่นในครอบครัวให้อยู่ในต าแหน่งต ่ากว่า ผลจากการปรับตัวรูปแบบนี้ คือการ
สื่อสารที่ไม่ซื่อสัตย์ การสื่อสารของผู้โทษผู้อื่น คือ ฉันดีกว่าเธอ, ความคิดเห็นของฉันดีและส าคัญกว่า
, ฉันถูกเสมอ ตัวอย่างเช่น ครอบครัวซึ่งพ่อเป็นผู้ควบคุมครอบครัว(และภรรยา)อย่างเข้มงวด ไม่
ั
ยืดหยุ่น มักไม่รับฟงความรู้สึก ความคิดเห็น ของสมาชิกคนอื่นในครอบครัว
[Type text]