Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปอกเปลือกสูงที่สุด คือ 2,222 และ 1,582 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (ตารางที่ 2) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ กัลยกร
และคณะ (2560) ที่รายงานว่าผลการทดลองในปี 2555-2556 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี (ปัจจุบัน คือ
ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี) กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ (26-0-5 กก. N-P 2O 5-K 2O
ต่อไร่) น้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกสูงที่สุด ส่วนผลการทดลองในแปลงที่ 2 ศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ พบว่า ทุกกรรมวิธีทดลองมีน้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก. N-P 2O 5-K 2O
ต่อไร่ มีน้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกสูงที่สุด คือ 2,069 และ 1,493 กิโลกรัมต่อไร่
แต่ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่ 1, 4, 6 และ 7 และยังพบว่ากรรมวิธีที่ 2 และ 3 ที่ใส่เพียงปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียวมีน้ำหนัก
ฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกต่ำสุด (ตารางที่ 2) จากผลการทดลองข้างต้นขัดแย้งกับรายงาน
ของ Hungria et al. (2010) ที่กล่าวว่า การใส่เชื้อ Azospirillum brasilense ก่อนการปลูกสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต
ข้าวโพดได้ 24-30 % เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่เชื้อ
3. ความหวาน
ตามพระราชบัญญัติสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 หรือ มกษ.1512-2554 (สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและ
อาหารแห่งชาติ, 2554) ได้กำหนดนิยามของ ข้าวโพดหวาน ว่า หมายถึง ข้าวโพดที่มีความหวาน โดยมีปริมาณ
o
ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 9 องศาบริกซ์ ( brix) ในลักษณะทั้งฝักที่มีหรือไม่มีเปลือกหุ้ม เมล็ดติดกับ
ซัง จากผลการทดลองพบว่า ข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ที่ปลูกในแปลงทดลองที่ 1 และ 2 ทุกกรรมวิธีทดลองมีความ
หวานสูงกว่าที่กำหนด และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 2) โดยกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1
มีความหวานสูงที่สุด คือ 14.8 และ 18.1 องศาบริกซ์ ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 1
4. ประชากรแบคทีเรีย
โดยทั่วไปหลังการใส่ปุ๋ยชีวภาพปริมาณประชากรแบคทีเรียจะลดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากความไม่
สม่ำเสมอของสภาพแวดล้อมซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ จึงมักพบว่าผลการทดลองในสภาพปลอดเชื้อกับในธรรมชาติมีความ
แตกต่างกันมาก (Bashan and Levanony, 1990, สมปองและศุภมาศ, 2551, Meunchang et al., 2006a,
Meunchang et al., 2006b) ในการทดลองนี้ก่อนเริ่มทำการทดลองได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อนับจำนวน
ประชากรแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด พบว่า ในแปลงทดลองที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี มีจำนวนประชากร
Azospirillum sp. อยู่ระหว่าง 5.66-7.01 Log 10 CFU/ml Azotobacter sp. อยู่ระหว่าง 4.14-6.48 Log 10 CFU/ml
และ Beijerinkia sp. อยู่ระหว่าง 4.62-6.34 CFU/ml ส่วนแปลงทดลองที่ 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์
มีจำนวนประชากร Azospirillum sp. อยู่ระหว่าง 5.66-6.95 Log 10 CFU/ml Azotobacter sp. อยู่ระหว่าง 5.16-5.99
Log 10 CFU/ml และ Beijerinkia sp. อยู่ระหว่าง 5.26-5.79 Log 10 CFU/ml และหลังการทดลอง พบว่า ในแปลงทดลอง
ที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี กรรมวิธีทดลองที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทั้งสองแบบทำให้จำนวนประชากร
Azospirillum sp. ในดินเพิ่มสูงขึ้นกว่ากรรมวิธีที่ 1 (ตารางที่ 3) และยังพบว่าทุกกรรมวิธีทดลองที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
ทำให้จำนวนประชากร Azotobacter sp. และ Beijerinkia sp. ในดินเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้แบคทีเรียที่ได้กล่าว
มาแล้วสามารถส่งเสริมให้มีการตรึงไนโตรเจนในราก โดยกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 เพียงอย่างเดียว
มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนสูงที่สุด คือ 0.135 µmol C 2H 2 hr รองลงมา คือ กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
-1
แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 6 ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 + 15-3.75-7.5
กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจน 0.124 µmol C 2H 2 hr (ตารางที่ 3) ส่วนแปลงทดลองที่ 2
-1
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ พบว่า ทุกกรรมวิธีทดลองที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทำให้จำนวนประชากร
Azospirillum sp. Azotobacter sp. และ Beijerinkia sp. ในดินเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับแปลงทดลองที่ 1 ดังแสดง
ในตารางที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่า กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 และกรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนสูงที่สุด คือ 0.072 µmol
-1
C 2H 2 hr (ตารางที่ 3)
14