Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 2 แบบ ที่มีชนิดแบคทีเรียและวัสดุพาที่ใช้วิธีทำให้ปลอดเชื้อปนเปื้อนแตกต่างกัน เพื่อนำผล
               ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ต่อไป


                                                        วิธีดำเนินการ

               อุปกรณ์
                  1. เมล็ดข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3
                  2. ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน
                  3. ปุ๋ยเคมี
               วิธีการ
                       ก่อนดำเนินการทดลองได้ทำการเก็บตัวอย่างดินในแปลงทดลอง ณ ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี  (ดินร่วน

               ปนเหนียว) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ (ดินร่วนปนทราย) เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการ
               ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ดังแสดงใน
               ตารางที่ 1 เพื่อคำนวณอัตราปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร (2552) ทำการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์
               ไฮบริกซ์ 3 ในแปลงทดลองย่อยขนาด 6x5 เมตร มีระยะปลูก 0.75x0.25 เมตร แปลงละ 8 แถว ๆ ละ 20 หลุม ๆ ละ
               1 ต้น ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์และปุ๋ยเคมีตามที่กำหนดในกรรมวิธีทดลอง พร้อมทั้งให้น้ำเมื่อความชื้นในดินต่ำ บันทึก
               ข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิต เมื่ออายุ 55-65 วัน หลังการเก็บเกี่ยวทำการนับปริมาณพีจีพีอาร์รอบๆ รากและ
               อัตราการตรึงไนโตรเจน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB รวม 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ดังนี้
                       แปลงที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี [ดินร่วนปนเหนียว]

                           กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก.N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน)
                           กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1
                           กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2
                           กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 15-5-7.5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 7 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 15-5-7.5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           ทำการปลูกและใส่ปุ๋ยรองพื้น เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น เมื่ออายุ 7 วัน
               ใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยแต่งหน้าเมื่ออายุ 21 วัน พร้อมพูนโคนและกำจัดวัชพืช ทำการเก็บเกี่ยว เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562

               รวมอายุ 67 วัน
                           แปลงที่ 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ [ดินร่วนปนทราย]
                           กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก.N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน)
                           กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1
                           กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2
                           กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 22.5-7.5-3.75กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
                           กรรมวิธีที่ 7 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 22.5-7.5-3.75 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่




                                                           12
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25