Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                             ทำการปลูกและใส่ปุ๋ยรองพื้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น เมื่ออายุ 7 วัน
               ใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยแต่งหน้าเมื่ออายุ 21 วัน พร้อมพูนโคนและกำจัดวัชพืช ทำการเก็บเกี่ยว เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562
               รวมอายุ 70 วัน

               หมายเหตุ - ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 หมายถึง ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่ใช้วัสดุพาแบบนึ่งฆ่าเชื้อ ประกอบด้วยจุลินทรีย์
               3 กลุ่ม ได้แก่ Azospirillum sp. Azotobacter sp. และ Beijerinckia sp. โดย Azospirillum sp. ที่ใช้เป็นไอโซเลทที่
               แยกได้จากดินบริเวณรอบๆ รากหญ้าแฝก (Vetiver grass) (Meanchang et al., 2004) และมีปริมาณ Azospirillum
                                                                      6
                        7
               sp. 4.0x10  โคโลนี ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ Azotobacter sp. 2.2x10  โคโลนี ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ และ Beijerinckia
                        6
               sp. 1.8x10  โคโลนี ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ
                          - ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 หมายถึง ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่ใช้วัสดุพาแบบฉายรังสี ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3
               กลุ่ม ได้แก่ Azospirillum sp. Azotobacter sp. และ Beijerinckia sp. โดย Azospirillum sp. ที่ใช้เป็นไอโซเลทที่แยก
                                                                                                      7
               ได้จากรากข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 (Zea mays saccharata) และมีปริมาณ Azospirillum sp. 3.5x10  โคโลนี
               ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ Azotobacter sp. 2.7x10  โคโลนี ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ และ Beijerinckia sp. 1.7x10  โคโลนี
                                                      6
                                                                                                      6
               ต่อ 1 กรัมปุ๋ยชีวภาพ
               ระยะเวลา              ตุลาคม  2560 - กันยายน  2561
               สถานที่ทำการทดลอง     ณ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน  กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา  กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทาง
                                     การเกษตร  กรมวิชาการเกษตร
                                     ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี  จังหวัดลพบุรี
                                     ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์

                                                  ผลการทดลองและวิจารณ์
               1. ความสูง
                       ความสูง ณ วันเก็บเกี่ยวของข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 ที่ปลูกในแปลงทดลองที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช
               ลพบุรี พบว่า ทุกกรรมวิธีทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับ
               ปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ มีความสูงของความโพดสูงที่สุด คือ 192.0 เซนติเมตร รองลงมา คือ กรรมวิธีที่

               4 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (186.9 เซนติเมตร) ดังแสดงในตาราง
               ที่ 2 ส่วนแปลงทดลองที่ 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ พบว่า ทุกกรรมวิธีทดลองข้าวโพดหวานมีความสูง
               แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 22.5-7.5-3.75
               กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ มีความสูงของข้าวโพดหวานสูงที่สุด คือ 187.8 เซนติเมตร รองลงมา คือ กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ย
               ชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-10-5 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (183.6 เซนติเมตร) นอกจากนี้ ยังพบว่า
               กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว ข้าวโพดหวานมีความสูงต่ำที่สุด 145.0 และ 138.5 เซนติเมตร ตามลำดับ
               (ตารางที่ 2) จากผลการทดลองของทั้ง 2 แปลงทดลอง พบว่า ทุกกรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนข้าวโพดมีความสูง ณ
               วันเก็บเกี่ยวไม่แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับเทียนชัย (2537) ที่รายงานว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ความสูง
               ของต้นข้าวโพดเมื่ออายุ 60 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ต้นข้าวโพด
               มีความสูงมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน

               2. ผลผลิต
                      ผลผลิตของข้าวหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ที่ปลูก ณ แปลงทดลองที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี เกือบทุก
               กรรมวิธีทดลองมีน้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกสูงกว่าแปลงที่ 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการ
               เกษตรนครสวรรค์ (ตารางที่ 2) นอกจากนี้ยังพบว่า แปลงทดลองที่ 1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี ทุกกรรมวิธี
               ทดลองมีน้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 4
               ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์แบบที่ 1 + 20-5-10 กก. N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ มีน้ำหนักฝักสดรวมเปลือกและน้ำหนักฝักสด


                                                           13
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26