Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       2-1


                                                         บทที่ 2


                                                   ภูมินิเวศของพื้นที่สูง


                       สาระสําคัญของบทนี้จะครอบคลุมรวม 5 เรื่อง คือ (1) ความหมายและขอบเขตของพื้นที่สูง (2) ภูเขา
               ในประเทศไทย (3) แหลงกําเนิดของแมน้ําจากภูเขาที่สําคัญ (4) ปาไมในประเทศไทย และ (5) ความ
               หลากหลายทางชีวภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้


               2.1 ความหมายและขอบเขตของพื้นที่
                       เนื่องจากพื้นที่สูงที่สถาบันและสวนราชการไดกําหนดไวนั้นมีความแตกตางกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

                       2.1.1 ภูเขา
                       ราชบัณฑิตสถาน (2542: 825)  ไดใหความหมายของภูเขาไววาเปน “พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ
               ตั้งแต 600 เมตรขึ้นไป” และคณะอนุกรรมการจัดทําพจนานุกรมธรณีวิทยา (2530: 78)  ไดใหความหมาย
               เพิ่มเติมจากราชบัณฑิตสถานเปนภูเขาคือ “พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ ตั้งแต 600 เมตรขึ้นไป และ

               มีความลาดชันสูง”

                       2.1.2 พื้นที่สูง
                       พื้นที่สูงที่กําหนดไวในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องคการมหาชน)
                         1)
               พ.ศ. 2548  คือ “พื้นที่ที่เปนภูเขาหรือพื้นที่ที่มีความสูงกวาระดับน้ําทะเล 500 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ที่อยู
               ระหวางพื้นที่ตามที่คณะกรรมการกําหนด” ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (2559: 17) ไดระบุไวใน
               ยุทธศาสตรสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องคการมหาชน) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) หนา 17 วา
               “พื้นที่สูงในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67.22 ลานไร คิดเปนรอยละ 53 ของพื้นที่ 20 จังหวัด ไดแก

               เชียงใหม เชียงราย แมฮองสอน พะเยา ลําพูน แพร นาน ลําปาง ตาก เพชรบูรณ พิษณุโลก เลย สุโขทัย
               กําแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ และเพชรบุรี”

                       2.1.3 พื้นที่ลาดชันเชิงซอน

                       คณะกรรมการจัดทําปทานุกรมปฐพีวิทยา (2541: 102) ไดใหความหมายพื้นที่ลาดชันเชิงซอนไววา
               เปน “พื้นที่ที่ประกอบดวยเขาและภูเขาที่ลาดชันสูง และเปนดินตื้นที่มีหินโผลเปนสวนใหญ ลักษณะของดินมี
               มากมายหลายชนิดขึ้นอยูกับชนิดของหินและสภาพความลาดชัน” ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2562: 1-2 ) ไดใชความ
               ลาดชันมากกวา 35 เปอรเซ็นต เปนพื้นที่ลาดชันเชิงซอน (Slope complex)

                       จากคําจํากัดความของสถาบันและหนวยงานตางๆ มีความแตกตางกัน ทําใหมีเนื้อที่ของพื้นที่สูง
               แตกตางกัน
                       จากการวิเคราะหพื้นที่โดยการทับซอนโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographical Information
               System: GIS) พบวาพื้นที่ลาดชันเชิงซอน (Slope complex) ที่กําหนดโดยคณะอนุกรรมการจัดทํา

               พจนานุกรมปฐพีวิทยาและกรมพัฒนาที่ดินที่ใชความลาดชันเกิน 35 เปนเกณฑในการกําหนดความลาดชัน
               เชิงซอนนั้น ไดครอบคลุมพื้นที่ที่มีความสูงกวาระดับน้ําทะเล 500 เมตร และ 600 เมตร ขึ้นไปทั้งหมดแลว
               ---------------------------------------------
               1)  ราชกิจจานุเบกษา เลม 122 ตอนที่ 59ก ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2548
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40