Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในอาหารอินทรีย์ โดยเฉพาะผู้บริโภคยินดีจ่ายราคาที่สูงขึ้นส าหรับอาหารออร์แกนิกที่มีป้ายก ากับและมี
แนวโน้มที่จะไว้วางใจพวกเขามากขึ้น ส่วนประเทศต้นก าเนิดก็มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคอย่าง
มาก (Wang, et al., 2012; Aichner et al., 2017) ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าข้าวที่มีการระบุว่าข้าวที่มีต้น
ก าเนิดจากประเทศไทย ผู้บริโภคชาวกว่างโจวมีความพึงพอใจและเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวที่มีต้น
ก าเนิดจากประเทศอื่นๆ
ผลวิจัยด้านปัจจัยของการตัดสินใจเปลี่ยนตราสินค้า ผู้บริโภคข้าวชาวจีนให้ความส าคัญในปัจจัย
เครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยเรื่องรสชาติ ส่งผลต่อการพิจารณาเลือก
ซื้ออยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับ Ahmad Hanis et al. (2012) สรุปว่ารสชาติเป็นปัจจัยส าคัญอันดับ
สองรองจากการเลือกข้าวของผู้บริโภคชาวจีนในขณะที่ความปลอดภัยของอาหารเป็นปัญหาที่ส าคัญที่สุด ผล
การรับรู้ของผู้บริโภคต่อประเทศต้นก าเนิดมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก
(Wang, et al., 2012; Aichner et al., 2017) อย่างไรก็ตามในการศึกษาล่าสุด Balabanis et al. (2017)
แนะน าว่าชาติพันธุ์นิยม ไม่มีผลกระทบต่อความตั้งใจในการซื้อ เพื่อความสะดวกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ า
สอดคล้องกับ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง (2019) ได้สรุปว่าผู้บริโภคชาวจีนได้มีความ
ต้องการซื้อสินค้าน าเข้าเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของประเทศผู้ส่งออกหลายประเทศที่ตั้งเป้ามาท าตลาดที่
ประเทศจีน และข้าวก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่ประเทศส่งออกสินค้าเกษตรท าการแข่งขัน เพื่อจะเข้ามาแบ่งส่วนแบ่ง
ทางตลาดในประเทศจีน ดังนั้นหากพัฒนาข้าวไทยให้มีคุณภาพ มีเครื่องหมายมาตรฐาน เช่นมาตรฐานความ
ปลอดภัย มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล พร้อมด้วยรสชาติและรสสัมผัสที่หอมนุ่ม จะมีโอกาสที่จะรักษาส่วน
แบ่งในตลาดข้าวจีน และเพิ่มโอกาสไปตามตัวเมืองต่างๆในประเทศจีนได้
ผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลในการประเมินเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางส าหรับผู้ที่มีอ านาจ หรือ
มีส่วนที่เกี่ยวข้องในการก าหนดนโยบาย เพื่อด าเนินการวิจัยและพัฒนา ปรับเปลี่ยนรสชาติข้าวเพื่อตอบสนอง
ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการพัฒนามาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในประเทศจีน เช่น
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศจีน เกษตรอินทรีย์สากลหรือเสนอเรื่องสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอด
สาร เป็นวาระหลัก ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคชาวไทยและผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงเป็นแนวทางในการ
ต่อยอดไปสู่ผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ พัฒนาจากพื้นฐานต่อยอดสู่ระดับสากล