Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสรุปผู้บริหาร
(Executive Summary)
ข้าวเปรียบเสมือนชีวิต วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันธ์กับข้าวมายาวนาน เกษตรกรไทยปลูกข้าวมานาน
หลายศตวรรษ การปลูกข้าวของไทยถือเป็นฐานของแหล่งประเพณี พิธีกรรม วัฒนธรรมที่ดีงาม และมี
ประชากรไทยจ านวนมากยึดการท านาเป็นอาชีพหลัก ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 321 ล้านไร่ มีพื้นที่ส าหรับ
การผลิตข้าว ถึง 70.42 ล้านไร่ ข้าวจึงถือเป็นส่วนส าคัญของระบบเศรษฐกิจไทย ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมที่
ไทยส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ไทยมีประวัติศาสตร์การส่งออกข้าวมายาวนาน ตั้งแต่เมื่อประมาณ พ.ศ.
2203 ไทยได้เริ่มค้าขายข้าวครั้งแรกกับประเทศฮอลันดา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2289 ได้เริ่มมีการส่งออกข้าวไป
ยังประเทศจีนเป็นจ านวนประมาณ 570-645 ตัน และมีการส่งออกเรื่อยมา ต่อมาใน พ.ศ. 2394 หลังจากที่
ไทยได้ท าสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศอังกฤษ ท าให้ไทยมีการส่งออกข้าวเพิ่มมากขึ้น และเริ่มส่งออกข้าวไป
ยังประเทศต่างๆหลายประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจากอดีตถึงปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2560 ไทยมีการส่งออกข้าว ปริมาณรวมทั้งสิ้น 11.63 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.
2559 ที่ส่งออกได้ 9.88 ล้านตัน มีปริมาณสูงขึ้นร้อยละ 17.71 ตลาดประเทศส่งออกหลักที่ส าคัญ ได้แก่ เบนิน
จีน สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และฟิลิปปินส์ คิดเป็นร้อยละ 52.90 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด โดยปี พ.ศ.
2560 และปี พ.ศ. 2559 ไทยส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับ 2 คิดเป็นมูลค่า 571.66 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ และ 479.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวร้อยละ 19.53 และ ร้อยละ -0.18 ตามล าดับ จีนเป็น
ผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นร้อยละ 28 ของปริมาณข้าวที่ผลิตทั่วโลก ถึงแม้ว่าจีนจะผลิตข้าวได้
ปริมาณมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ทุกๆปียังคงมีการน าเข้าข้าวในปริมาณมากและ
ต่อเนื่อง จีนจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดสินค้าบริโภคยังสามารถเติบโตได้ทั้งปริมาณผู้บริโภค และก าลังซื้อ
ส่วนแบ่งทางการตลาดของข้าวไทยในจีนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 30
เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 28.58 ขณะที่ปี 2558 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 30.75 ของมูลค่าการน าเข้าข้าว
ของจีนทั้งหมด ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมานี้จีนน าเข้าข้าวจากเวียดนามมากที่สุด มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 56
ของมูลค่าการน าเข้าข้าวของจีนทั้งหมดในประเทศจีน คู่แข่งทางการตลาดที่ส าคัญของข้าวไทยในตลาดจีนก็คือ
ข้าวจากประเทศเวียดนาม ปากีสถาน และกัมพูชา ตามล าดับ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการส่งเสริม การพัฒนา และยกระดับมาตรฐานข้าวไทย ให้มีคุณลักษณะ คุณภาพ
ตรงกับความพึงพอใจของผู้บริโภคชาวจีน สามารถแข่งขันกับข้าวจากประเทศอื่นๆได้ ตามเป้าหมายและ
จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ด าเนิน “โครงการ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสร่วมกับปัจจัยที่มีผลต่อ
การเลือกซื้อข้าวหอมมะลิ พฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้า และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคชาวจีน” เพื่อ
จัดท าแผนกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ โดย