Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









               บทที่ 3 สีย้อมจากในสวน


                      โดยปกติแล้ว พืชพันธุ์ธรรมชาติที่ให้สี แทบทุกส่วนนับตั้งแต่ ราก หัว เหง้าที่อยู่ในดิน ล าต้น เปลือกหรือ
               แก่นใน ใบ ดอก กระทั่งผล ซึ่งมีทั้งกินได้และกินไม่ได้ สามารถน ามาสกัดเป็นน้ าสีเพื่อการย้อมได้นั้น จะให้สีที่แตกต่าง

               กันออกไป รวมถึงความอ่อนแก่ของสีก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายตัวแปรด้วยเช่นกัน ได้แก่ วัน เวลา ฤดูกาลที่เก็บ ความสด

               และความแห้งของพืช  ถ้าเก็บพืชพันธุ์ในฤดูร้อนจะได้น้ าหนักเบากว่าเก็บในฤดูฝน เนื่องด้วยความชื้นที่สะสมอยู่ในพืช
               ตามฤดูกาลนั้น  ๆ ฉะนั้น ในฤดูร้อนถ้าสัดส่วนของเส้นฝ้าย 1 กิโลกรัม จะใช้เปลือกไม้ 3 กิโลกรัม ถ้าเป็นใบไม้จะใช้

               5 กิโลกรัม (ใบไม้มีน้ าหนักที่เบากว่าเปลือกไม้) โดยใช้น้ า 15 ลิตร และสารช่วยติดสี 1 ขีด แต่ในฤดูฝนจะเพิ่มจ านวน
               วัสดุขึ้นอีกอย่างละ 1-2 กิโลกรัม (การจดบันทึกถึงสัดส่วนที่ชัดเจนจะช่วยให้ได้สีที่คงที่) การบากเปลือกของต้นไม้

               ควรบากส่วนที่หันหลังให้แดด เพราะส่วนที่รับแดดจะมีความชื้นน้อยกว่า ส าหรับการบากจะต้องไม่บากในส่วนเดียวกัน

               แบบรอบล าต้น เพราะจะท าให้ต้นนั้น ๆ ตายได้ (เหมือนเป็นการตอนกิ่ง) การเลือกหยิบจับพืชพันธุ์หรือมองหาต้นไม้
               เพื่อมาเป็นวัสดุส าหรับการย้อมนั้น พันธุ์พืชเกือบทุกชนิด และทุกส่วนสามารถน ามาใช้ส าหรับการย้อมให้ติดสีได้

               แต่การติดสีอาจไม่ดีนักและความคงทนต่อการขัดถูหรือความคงทนต่อแสงอาจได้ไม่เท่ากัน ซึ่งข้อสังเกตง่าย ๆ เบื้องต้น

               คือ พืชพันธุ์ธรรมชาติมียาง มีรสฝาด จากส่วนล าต้น ผล ใบ ดอก ถ้าเป็นใบหรือดอกให้ลองน ามาขยี้ ขย าหรือถู ๆ ถ้า
               ลื่น ๆ มียางเหนียว ๆ ติดมือแสดงว่าสามารถน ามาเป็นวัสดุส าหรับย้อมสีได้ (แต่ถ้ามีแต่ความลื่นอย่างเดียวสามารถ

               ย้อมได้เช่นกันแต่สีจะหลุดออกได้ง่ายเวลาซักล้าง และซีดเมื่อโดนแดด)  ถ้าเป็นผลที่รับประทานได้ให้เอาลิ้นแตะ ๆ ถึง

               รสฝาดขม ถ้ารับประทานไม่ได้รวมถึงเปลือก/ ล าต้น ให้น ามีดมาขูด ๆ บาก ๆ แล้วสังเกตจะมียางซึมออกมา ส่วนใหญ่
               พืชพันธุ์ที่รับประทานได้มักจะมีสี สามารถน ามาย้อมได้ แต่สีที่ได้จะติดไม่คงทน เช่น ลูกปรัง ลูกหว้า กระเจี๊ยบ อัญชัน

               บีทรูท แครอท เปลือกหอมใหญ่ กะหล่ าปลีสีม่วง เป็นต้น


                      ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม (ช่วงปลายฝนต้นหนาว) จะเป็นช่วงที่พืชพันธุ์ไม้ให้สีดีที่สุดต้นไม้จะมี
               สีมาก การต้มสกัดสีจะต้มที่ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 40 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และการต้มเพื่อย้อมจะใช้อุณหภูมิที่

               60-80 องศาเซลเซียส


                      ภายหลังการน าเส้นใยที่ทดลองย้อมสีธรรมชาติไปทอเป็นผืนผ้าแล้ว สามารถน าผืนผ้าไปทดสอบหาความทน
               ต่อแสงได้ง่าย ๆ คือ การน าผืนผ้านั้นไปวางแตกแดด แล้วน ามาเปรียบเทียบระหว่างผืนผ้าที่โดนแดดกับที่ไม่โดนแดด

               ถ้าผืนผ้าที่โดนแดดสีซีดมากแสดงว่าวัสดุที่น ามาท าการย้อมนั้นยังไม่มีความคงทน อาจต้องทดลองหรือทดสอบการย้อม

               ใหม่ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับผืนผ้าที่ไม่โดดแดดแล้วสีซีดน้อยลงหรือแทบไม่เปลี่ยนสีเลยแสดงว่าสีที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ
               นั้นมีความเหมาะสม มีความคงทนและติดทนทานสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ดีต่อไป







                                                                                                            11
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25