Page 70 -
P. 70

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               70





                    essential nutrient elements  ธาตุอาหารจําเป็น : ธาตุซึ่งอยู่ในกรอบบรรทัดฐานความเป็นธาตุอาหารพืช
                      (criteria of essentiality) ทั้ง 3 ประการ มี 17 ธาตุ (elements) ซึ่งกล่าวถึงโดยระบุชื่อธาตุหรือสัญลักษณ์ธาตุ

                      คือ มหธาตุ (macronutrient elements) มี 9 ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน

                      (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กํามะถัน (S) และจุลธาตุ
                      (micronutrient elements) มี 8 ธาตุ คือ โบรอน (B) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn)

                      โมลิบดีนัม (Mo) คลอรีน (Cl) และนิกเกิล (Ni) เรียก essential elements, essential chemical elements ก็
                      ได้ ดูคําอธิบายเพิ่มเติมใน macronutrient elements และ micronutrient elements

                    ethylene เอทิลีน : ฮอร์โมนพืชรูปแก๊ส สูตรเคมี H C=CH  เกี่ยวข้องกับการเติบโตของพืชหลายด้านเช่น ยับยั้งการ
                                                           2
                                                                 2
                      ยืดตัวของต้นกล้าแต่กระตุ้นการขยายขนาดด้านข้าง เร่งการสุกของผล ทําลายการพักตัวและกระตุ้นการงอกของ
                      เมล็ด และการตอบสนองของพืชต่อความเครียดจากสภาพแวดล้อม การสังเคราะห์ต้องการธาตุเหล็ก

                    etiolatoion ความซีดเพราะขาดแสง: ลักษณะต้นพืชที่ผอม สูงและใบเหลืองซีดเนื่องจากอยู่ในสภาพที่ความเข้มแสง
                      ตํ่า

                    eukaryote ยูคารีโอต : สิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียส เช่น พืช สัตว์ ราและสาหร่าย

                    eutectic solutions สารละลายยูเทคติก : สารละลายของสารหรือเกลือซึ่งตัวละลายมีสภาวะเสริมต่อการละลายซึ่ง
                      กันและกัน เช่น ยูเรียกับแอมโมเนียมไนเทรต เมื่อนํามาละลายร่วมกัน สภาพละลายได้ของปุ๋ยแต่ละชนิดจะสูงกว่า

                      เมื่อเตรียมเป็นสารละลายเดี่ยว ๆ

                    eutrophication สภาวะสารอาหารมากเกิน : กระบวนการซึ่งสารอาหารรั่วไหลลงไปสะสมในแหล่งนํ้าธรรมชาติ มีผล
                      ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแหล่งนํ้านั้น จนนํ้าเน่าเสีย (eu-, L: ดีหรือมาก; -troph, L: อาหาร)

                    evapotranspiration การคายระเหยนํ้า: ผลรวมของปริมาณนํ้าซึ่งพื้นที่เพราะปลูกสูญเสียในรูปไอนํ้า โดยการคายนํ้า
                      ของพืช (transpiration) กับการระเหยนํ้าผ่านผิวดินโดยตรง (evaporation) เรียกว่าปริมาณความต้องการนํ้าของ

                      พืช ใช้หน่วยมิลลิเมตร/พื้นที่/ช่วงเวลา

                    exchangeable ion ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ : แคตไอออนหรือแอนไอออนซึ่งดูดซับที่ผิวของคอลลอยด์ดิน ซึ่งอาจ
                      ถูกแทนที่ได้โดยไอออนประเภทเดียวกัน ซึ่งอยู่ในสารละลายดิน ไอออนซึ่งเคยถูกดูดซับจึงออกมาอยู่ในสารละลาย

                      ดิน
                    exergonic reaction ปฏิกิริยาคายพลังงาน : ปฏิกิริยาเคมีซึ่งปลดปล่อยพลังงานอิสระออกมาสู่สิ่งแวดล้อม

                      เปรียบเทียบกับ endergonic reaction (ปฏิกิริยาดูดกลืนพลังงาน)

                    exocytosis เอกโซไซโทซิส : กระบวนการกําจัดสารโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ โดยสารนั้น
                        เข้าไปรวมออยู่ในวงล้อมของเยื่อ ก่อนที่จะขับออกไปนอกเซลล์ (exo, L: ภายนอก)

                    exodermis เอ็กโซเดอมีส: ชั้นของเซลล์ในรากอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis) มีสารซูเบอ

                        ริน (suberin) พอกที่ผนังเซลล์ พบในรากพืชซึ่งโตเต็มที่แล้ว
                    exogenous -ภายนอก: เกิดขึ้นภายนอก หรือเกิดขึ้นจากสาเหตุภายนอก

                    expansin เอกซ์แพนซิน: โปรตีนในผนังเซลล์ทําหน้าที่ช่วยให้ผนังเซลล์คลายตัวเมื่อเซลล์ได้รับความเครียด เป็นการ
                      ยืดตัวโดยไม่กลับคืนสภาพเดิม
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75