Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันพัฒนาและปลูกต้นไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจ าปี 2559
วันพัฒนาและปลูกต้นไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจ าปี 2559
วันพัฒนาและปลูกต้นไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจ าปี 2559
ต้นทองหลาง(ป่า)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr.
ชื่อวงศ์ : ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว
FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ชื่อสามัญ : Indian Coral tree[2], December tree
ชื่ออื่นๆ : ตองหลาง (แพร่), ทองบก (น่าน), ทองมีดขูด (ภาคเหนือ),
ทองหลาง (ภาคกลาง), เก๊าตอง (คนเมือง), ไม้ตองหนาม ไม้ตองน้ า (ไทใหญ่),
ยาเซาะห่ะ (อาข่า)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นผลัดใบในระยะสั้น ๆ มีความสูงของต้นประมาณ
10-20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เรือดยอดแผ่กว้าง เปลือกล าต้นเป็น
สีขาวหม่น มีหนามแหลมสั้น ๆ ขึ้นกระจายทั่วล าต้นและกิ่ง
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบกลางมีขนาด
ใหญ่กว่าใบข้าง ลักษณะของใบย่อยเป็นหัวใจ รูปไข่แกมสามเหลี่ยม หรือรูป
ไข่แกมแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือมน ส่วน
ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-
16 เซนติเมตร
ดอก : เป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่ง มีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีจ านวนมาก
ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ดอกมี
ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อน กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบ
ดอกมี 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งเป็นรูปเรือ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อม
ติดกันที่โคนด้านล่าง ก้านเกสรเป็นสีแดง อับเรณูเป็นสีเหลือง
ผล : เป็นฝักโค้งแบน ตอนโคนแบน ไม่มีเมล็ด ตอนปลายหนา แบ่งเป็นห้อง
ๆ มีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด รูปรี เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้าออกตามทางยาวจาก
ส่วนปลาย
ประโยชน์ : ใบอ่อนใช้รับประทานสดหรือใช้ใส่ในแกง หรือจะน ายอดอ่อนมา
ลวกรับประทานร่วมกับน้ าพริก ใส่ในแกง แกงหน่อ แกงขนุน ฯลฯ เนื้อไม้
เป็นสีขาว ค่อนข้างอ่อน ใช้ท าของเล่นส าหรับเด็ก หรือน ามาใช้รั้วบ้าน เพราะ
มีหนาม ดอกให้สีแดงส าหรับใช้ย้อมผ้า
- ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ Medthai https://medthai.com/ทองหลางป่า/
64 64 64
กองยานพาหนะ อาคารและสถานที่ ส านักงานอธิการบดี
กองยานพาหนะ อาคารและสถานที่ ส านักงานอธิการบดี
กองยานพาหนะ อาคารและสถานที่ ส านักงานอธิการบดี