Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




         พระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
         บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประพันธ์คำาร้องเพลงพระราชนิพนธ์

         รวม ๕ เพลง คือ เพลงใกล้รุ่ง ชะตาชีวิต ในดวงใจนิรันดร์ แว่ว และเพลงเกษตรศาสตร์
         ซึ่งเป็นเพลงประจำามหาวิทยาลัย คุณลุงมีความสามารถทางดนตรีมาตั้งแต่วัยเด็ก คุณแม่

         ของท่านเป็นนักร้องส่งประจำาวงราชการที่จังหวัดแพร่ คุณลุงจึงคุ้นเคยกับดนตรีมาแต่ยังเล็ก
         เมื่ออยู่ประถมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนนารีรัตน์คุณลุงก็ร้องเพลงไทยเดิมที่เอื้อนจังหวะ ๒ ชั้น ๓ ชั้นได้

         สองสามร้อยเพลง เมื่อไปเรียนชั้นมัธยมก็เป็นหัวหน้าลูกคู่ฝ่ายชายในวงดนตรีของโรงเรียน
         พิริยาลัย ที่จังหวัดแพร่

                เมื่อขึ้นชั้นมัธยมปลายไปเรียนที่ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ ทุกปีมีการแสดงละคร

         ของโรงเรียน ได้เป็นหัวหน้าลูกคู่คณะละครโรงเรียน และเนื่องจากรู้จักเพลงไทยเดิมสองชั้น

         สามชั้นถึงสองสามร้อยเพลง เมื่อเพื่อนๆ แต่งเนื้อร้อง คุณลุงก็จะเป็นคนแต่งทำานองให้
         เข้ากับคำาร้อง และเนื้อเรื่อง ทั้งของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
         ซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงด้วย เมื่อคุณลุงจบการศึกษาจากฟิลิปปินส์ และขึ้นไปทำางานที่แม่โจ้

         ก็ได้ไปคุมวงดนตรีสตริงแบนด์ของนักเรียนแม่โจ้ คุณลุงไปร่วมวงกับเขาด้วยโดยเป็นมือกลอง

         แต่ใจนั้นยังรักดนตรีไทยเดิมอยู่ จึงหัดเล่นเปียโนและออร์แกนเป็นเพลงไทยเดิมสองชั้น
         สามชั้นโดยไม่มีครูสอน เล่นวันละ ๒-๓ ชั่วโมงอย่างมีความสุข บรรเลงตามที่หูได้ยิน
         ต่อมาท่านต้องคุมการรำาของครูประชาบาลเชียงใหม่ที่รำาตามเพลงปลุกใจรักชาติของ

         หลวงวิจิตรวาทการ ต่อมาคุณลุงลองแต่งทำานองเพลงสากลบรรจุในคำาร้องพระราชนิพนธ์

         ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งไปให้วงคนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งถึงทางสุนทราภรณ์
         ไม่ได้ใช้ทำานองของคุณลุง แต่สุนทราภรณ์ก็เอาบทพระราชนิพนธ์มาใส่ทำานองเพลงหลายเพลงอยู่
         เมื่อคุณลุงกลับจากแม่โจ้ มาสอนที่บางเขน คุณลุงได้ไปร่วมวงดนตรีไทยกับวงอุทิศนาคสวัสดิ์

         โดยเป็นคนร้องส่ง ไปแสดงที่สถานีวิทยุ ๑ ปณ หลังจากนั้นไม่นาน คุณลุงและ ดร.อุทิศ

         นาคสวัสดิ์ ได้รับทุนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา วงดนตรีนี้ก็ไปแสดงที่นั่น คุณลุงว่าเป็นการเล่น
         อวดฝรั่งให้เห็นวัฒนธรรมดนตรีไทย  มี ดร.อุทิศ เดี่ยวขลุ่ยและซอสามสาย คุณลุงเป็นทั้ง
         นักดนตรี (ฆ้องวง) นักร้อง และนักแต่งเพลง


                เมื่อกลับมาเมืองไทย ดร.อุทิศ นำาวงดนตรีไทยวงใหญ่ ไปแสดงตามโรงเรียนและ
         มหาวิทยาลัย คุณลุงก็ไปด้วยทุกครั้ง ท่านว่าเพื่อแสดงว่าคนจบปริญญาเอกจากต่างประเทศ

         อย่างทั้งสองท่านก็ยังนิยมเพลงไทยเดิม ตอนนั้นผู้ฟังชอบกันมาก ตอนนั้นทั้งโรงเรียนใหญ่น้อย
         และมหาวิทยาลัย ก็พากันตั้งวงดนตรีไทยขึ้น ว่าไปแล้ว คุณลุงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีคุณูปการ

         อันใหญ่หลวงต่อวงการดนตรีไทยและสากล ช่วยพัฒนางานดนตรีของชาติด้วยการทุ่มเท
         ความรู้ความสามารถ แรงกายแรงใจในการประพันธ์เพลงมาโดยตลอด ความสามารถด้าน


          70
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77