Page 103 -
P. 103

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                         ที่จริงที่มาสนใจประวัติศาสตร์นั้น ประการหนึ่งก็อยากรู้ว่า คนไทยมีถิ่นกำาเนิดอยู่
                  ที่ไหนและแพร่กระจายยังไงมาถึงเมืองไทยนี้ อีกเรื่องหนึ่งผมคิดว่าถ้าเรียนทางภาษาศาสตร์

                  แล้ว จะสามารถรู้ได้ว่าคนไทยมาจากไหน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า อยู่ที่คอร์เนลล์ ก็มี มาวิน บราวน์
                  ซึ่งตอนหลังมาเป็นอาจารย์อยู่ที่ A.U.A. สอนภาษาไทยกับพวกฝรั่งที่อยากเรียนภาษาไทย

                  เขาก็มาถามผมว่าคำาว่า “เรียน” ภาษาไทใหญ่มีไหม ผมบอกผมไม่รู้หรอก แล้วเขารู้ไหมว่า
                  คำาอะไร เขาบอกว่าเขาไม่รู้ แต่คำาว่า “เรียน” ถ้ามีก็ต้องออกเสียงว่า “เฮ้น” อ้าว แล้วทำาไม

                  รู้ว่า “เฮ้น” เขาบอกว่าตัว ร นี้ ไทใหญ่เขาออกเสียงเป็น ฮ ทุกตัว เลย “โรง” ก็เป็น “โฮ้ง”
                  อย่างนี้นะ ทีนี้คำาว่า “เฮียน” สระเอียของภาคกลาง ไปเป็นไทใหญ่ ก็จะเป็นสระเอ ส่วน

                  แม่กนก็ยังเป็นแม่กนอยู่ เสียงที่เป็นคำาอักษรตำ่าไม่มีวรรณยุกต์นั้น ทางไทใหญ่จะออกเสียง
                  เป็นเสียงตรี คือเป็น “เฮ้น” เขาไม่รู้ว่ามีคำานี้มีในภาษาไทใหญ่หรือเปล่า แต่ถ้ามีจะต้องออก

                  เสียงว่า “เฮ้น” ผมจึงคิดว่า ภาษาศาสตร์นี่เก่งถึงขนาดนั้น คือ ไม่รู้ว่าคำานี้มีหรือเปล่า แต่ถ้า
                  มีจะต้องออกเสียงว่า “เฮ้น” ผมเกิดทางเมืองแพร่ ผมเรียนคำาว่า “ช้าง” เป็น “จ๊าง” คำาว่า

                  “ช่าง” เป็น “จ้าง” คือไม่รู้ว่าถ้าเป็นคำาอื่น สมมติว่าคำาว่า “ชน” เป็นภาคเหนือจะว่าอะไร
                  ถ้าไม่รู้มาก่อนก็บอกไม่ได้ แต่ว่าพวกนักภาษาศาสตร์เขาบอกได้ว่า ถ้าคำานี้เป็นคำาไทยแท้เดิม

                  ละก็ ทางล้านนาจะออกเสียงว่า “จน” ผมก็เลยคิดว่า ถ้าเรียนภาษาศาสตร์แล้วก็จะบอกได้ว่า
                  คนไทยมาจากไหน แต่ว่าต่อมาก็รู้ว่า มันบอกไม่ได้ แต่ก็พอจะบอกเป็นเค้าๆ อย่างพวกนัก

                  ภาษาศาสตร์เขาบอกว่า คนไทยนั้นมีถิ่นกำาเนิดอยู่แถวกวางตุ้ง กวางสี คือ พวกจ้วง หรืออยู่
                  ใต้เส้นเขตแดนจีน - เวียดนามลงมา คือ เมืองแถง เมืองแถน หรืออยู่ที่เส้นเขตแดน คือ อยู่

                  ระหว่างเขตแดนเวียดนามกับจีน ถ้าสูงขึ้นไปหน่อยคือพวกจ้วง หรือตำ่าลงมาเป็นพวกไทนุง
                  ไทดำา ไทขาว ที่อยู่ในเวียดนาม เพราะเหตุว่าแถวนั้นมีภาษาถิ่นมาก ศาสตราจารย์ Gedney

                  ที่เป็นครูของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้ตั้งทฤษฎีบอกว่า ภาษาอยู่ที่ไหนอยู่ไปนานก็จะเกิดความ
                  หลากหลายมากจนเกิดภาษาถิ่นขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าภาษาอพยพไปอยู่ที่ไหนใหม่ๆ ไม่นาน

                  พอ ก็จะมีภาษาเดียว ดูตัวอย่าง เช่น ภาษาอังกฤษอยู่ในเกาะอังกฤษ พวกสกอตแลนด์
                  พวกไอร์แลนด์พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ว่าพอไปอเมริกาไกลพันไมล์ ยังพูดกันรู้เรื่อง เพราะว่า

                  ภาษาเหมือนกันหมด เป็นภาษาที่อพยพเข้าไปใหม่ เยอรมันก็เหมือนกัน ในเยอรมันเอง
                  รอบนอกพูดกันไม่รู้เรื่อง ทั้งๆ ที่พูดภาษาเยอรมัน ทีนี้สมมติว่าเยอรมันไปตีได้เกาะใหญ่เท่า

                  ทวีปออสเตรเลีย ทั้งเกาะนั้นก็จะพูดภาษาเยอรมัน ฟังออกหมดตลอดทั้งเกาะ เพราะไม่มี
                  ภาษาถิ่น

                         กลับมาพูดถึงน่านเจ้า ทางตะวันออกพูดไทขาว ทางใต้ก็เป็นไทลื้อ ไทขาว ตะวันตก

                  เป็นไทเขิน ไทใหญ่ ทางเหนือไปก็เป็นพวกไทมาว แต่พวกนี้พูดภาษาฟังกันออกไม่ยากที่จะ

                  ติดต่อกัน จึงน่าจะเรียกว่าภาษาถิ่นเดียวกัน แล้วเหนือยูนานขึ้นไปก็ไม่มีคนไท นอกจากที่


                                                                                             101
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108