Page 102 -
P. 102
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปาฐกถาพิเศษ*
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
สวัสดี ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมจะขอเล่าผลงานบางเรื่องของผมให้ฟังว่าใจผมชอบ
วิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด ผมอยากคิดเลขเล่นมากกว่าไปดูหนัง ดูละคร ผมคิดอยากจะ
แบ่งมุมออกเป็น ๓ มุมเท่าๆ กัน โดยที่ว่า มุม ๓๖๐ องศา แบ่งเป็น ๑๒๐ โดยใช้วงเวียนกับ
ไม้บรรทัด ใครๆ ก็แบ่งได้ ๑๘๐ เป็น ๖๐ ก็ได้ ๙๐ เป็น ๓๐ ก็ได้ ๔๕ แบ่งออกเป็น ๑๕ องศา
๑ ใน ๓ ก็ได้ แต่มุม ๑๒๐ องศา แบ่งออกเป็นมุม ๔๐ องศา ทำาไม่ได้ ก็คิดว่าจะพยายาม
ทำาให้ได้ อาจารย์ก็เลยตั้งชื่อว่า เส้นโค้ง ณ นคร อันที่จริงไม่มีทางที่จะใช้วงเวียนกับไม้บรรทัด
แบ่งมุม ๑๒๐ เป็น ๓ มุมเท่าๆ กัน ได้เลยนะครับ ผมสนใจทางคณิตศาสตร์ก็เลยอยากไป
หาเพื่อนที่สนใจทางคณิตศาสตร์ ไปที่จุฬาฯ ไม่มีนักคณิตศาสตร์ที่สนใจคณิตศาสตร์ในระดับ
ประเทศหรือในระดับระหว่างประเทศเลยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ จนบัดนี้ก็ยังไม่มีคนไทยที่สนใจ
ที่จะค้นคว้าทางคณิตศาสตร์ในระดับประเทศหรือระดับโลก ผมสนใจวิทยาศาสตร์ เขียน
เรื่อง Atomic Bomb ระเบิดปรมาณู ให้น้องส่งหนังสือมาจากอังกฤษ เขาก็ส่งมาว่า ระเบิด
ปรมาณูทำาด้วยพลูโตเนียม ถ้าขนาดมันเล็กก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าโตถึงขนาดมันก็จะระเบิดเอง
ละครับ ฉะนั้นวิธีการก็ทำาพลูโตเนียมแล้วก็เอามารวมกันให้ใหญ่ขนาดนั้นเมื่อใด มันก็ระเบิด
เลยอย่างนี้ เป็นต้น แล้วก็อ่านเรื่อง Expanding Universe บอกว่าจักรวาลในตอนเริ่มแรก
รวมกันคล้ายๆ เป็นก้อนกลมแล้วมันระเบิด ดาวต่างๆ ก็แยกออกห่างจากกันเห็นได้จากแสง
สีแดงอะไรพวกนี้ จากสีทำาให้เรารู้ว่าดาวทั้งหลายกำาลังเคลื่อนห่างกันออกไป ผมสนใจ
อย่างนี้ ทีนี้เพื่อนๆ ก็ตะโกนว่า “เอ๊ะ ! ไอ้อะตอมมิกบอมบ์มาแล้วโว้ย” ผมคิดว่า นี่เรามาจาก
นอกโลกหรือยังไง คือคนเขามองเห็นว่าไอ้นี่มันบ้า ทำาไมไปคิดเรื่องอะตอมมิกบอมบ์ผมก็เลย
ทนไม่ไหว คือคนเรานี่จะทำาอะไร ถ้าไม่มีกำาลังใจ เราก็ไม่สามารถจะทนทำาต่อไปได้ เลยมา
คิดว่าทางภาษาไทยและประวัติศาสตร์ไทย ถ้าเราค้นคว้าฝรั่งก็สู้เราไม่ได้ เพราะว่าเราอยู่กับ
ข้อมูล มีข้อมูลมากกว่าฝรั่ง แต่ถ้าเราจะทำาเรื่องฟิสิกส์ ตำาราไม่มี เครื่องมือก็ไม่มี สมัยนั้นผม
อยากจะค้นคว้าเรื่องวิทยุกระจายเสียง รัฐบาลเก็บภาษี ใครมีหลอดวิทยุอยู่ในครอบครอง
ต้องเสียภาษีหลอดละ ๓ บาทต่อปี ก็แพงมากสมัยนั้น แล้วใครจะไปคิดค้นคว้าล่ะครับ
มันแพงอย่างนี้ เมื่อหาหนังสืออ่านไม่ได้ เครื่องมือก็ไม่มี หันมาทำาทางประวัติศาสตร์จะดีกว่า
* จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๔๖. ภาษา - จารึก
ฉบับที่ ๙ นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
100