Page 147 -
P. 147
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
128 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
2) ในระดับสัมพันธสาร งานวิจัยนี้ใช้แบบทดสอบการเขียนเชิงวิเคราะห์
ก่อนใช้นิทานและหลังใช้นิทานทั้งหมด 5 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 3 คะแนน รวมคะแนน
ทั้งหมด 15 คะแนน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.1) ท าไมชายขี้เกียจท างานนิดเดียว แต่กลับบ่นว่าร้อนและ
เหนื่อย
2.2) ท าไมชายขี้เกียจจึงพบกับเทพเจ้า
2.3) ท าไมหญิงชราจึงเสกพันธุ์ข้าวให้ออกรวงมากขึ้น
2.4) ท าไมชายขี้เกียจจึงกลับตัวเป็นคนขยัน
2.5) นิทานเรื่องนี้สอนอะไร
3) การทดสอบเครื่องมือในงานวิจัยนี้คือ การทดสอบความเที่ยงตรง
(validity) และการหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบทดสอบการอ่านออกเสียง
แบบทดสอบการอ่านออกเสียงและแบบทดสอบการเขียนเชิงวิเคราะห์ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเพื่อปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อ
แก้ไขตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้วิจัยน าแบบทดสอบทั้ง 3 ชุดมาหาค่า
ความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิแอลฟา (Alpha Coefficient) ของ
ครอนบาค (Cronbach) จากนั้นน ามาปรับปรุงข้อผิดพลาด และน าแบบทดสอบไปใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
4) จากนั้นน าผลการทดสอบก่อนและหลังการใช้มาเปรียบเทียบตาม
ค่าสถิติ
4 ผลการวิจัย
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิงวิเคราะห์
ภาษาไทยผ่านนิทานของนักเรียนโรงเรียนต ารวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนมี
วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการทางทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิง
วิเคราะห์ผ่านนิทานเรื่องชายขี้เกียจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
ต ารวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน ผลการวิจัยเป็นดังนี้