Page 145 -
P. 145
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
126 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
6) ก าหนดรูปภาพประกอบซึ่งเป็นภาพการ์ตูนให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
ลงในกระดาษ
7) น าหนังสือนิทานพื้นบ้านมอบให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ แก้ไข
เสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามค าแนะน า
ของผู้เชี่ยวชาญ แล้วน าไปจัดท าเป็นรูปเล่มใหม่ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
8) จัดท ารูปเล่ม
9) เมื่อจัดรูปเล่มนิทานเรื่องชายขี้เกียจแล้ว น าไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดย
ให้ผู้เรียนฟังการเล่านิทานจากคณะผู้วิจัยก่อนแล้วจึงให้ผู้เรียนท าแบบทดสอบก่อน
เรียนทั้ง 3 ชุด จากนั้นแจกนิทานให้ผู้เรียนคนละ 1 เล่ม เพื่อให้ผู้เรียนกลับไปฝึกอ่าน
ด้วยตนเองเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้เรียนปิดเทอมภาคฤดูร้อน เมื่อเปิดเทอม
คณะผู้วิจัยได้ลงไปเก็บข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียน การวิเคราะห์และแปลผลของ
แบบทดสอบแต่ละชุด มีรายละเอียดดังนี้
3.2.1 แบบทดสอบการอ่านออกเสียงและแบบทดสอบการเขียนเชิงวิเคราะห์
3.2.1.1 การวิเคราะห์และประเมินผลการอ่านออกเสียงภาษาไทย
การวิเคราะห์และประเมินผลการอ่านออกเสียง เป็นระดับการอ่าน
ออกเสียงระดับประโยคจนไปถึงระดับสัมพันธสาร โดยให้ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องในนิทาน
งานวิจัยนี้ใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียงตามกรอบของ
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
3 ลักษณะของแบบทดสอบเป็นการอ่านออกเสียงเป็นประโยคและเป็นข้อความ ระดับ
ความถูกต้องในการอ่านออกเสียง งานวิจัยนี้ได้ประเมินความถูกต้องของการอ่าน
ออกเสียงเป็น 2 ประเด็นคือ
1) ความถูกต้องของการอ่านออกเสียงเนื้อเรื่องทั้งหมด (การอ่าน
ออกเสียงในระดับข้อความ) เป็นการหาค่าเฉลี่ยจากค าที่ปรากฏในนิทานทั้งหมดว่า
กลุ่มตัวอย่างสามารถอ่านได้ทั้งหมดกี่ค า โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละและน ามา
เปรียบเทียบผลก่อนเรียนและหลังเรียน
2) ความถูกต้องของการอ่านออกเสียงในระดับประโยค โดยพิจารณา
จากจ านวนหน้าที่ปรากฏในนิทาน ว่าภายในหน้า ผู้เรียนสามารถอ่านได้ถูกต้องอยู่ใน